เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา1/2558 หน่วยการเรียนรู้: เด็กเส้น
เป้าหมาย(Understanding Goal) :
เข้าใจและเห็นความสำคัญของการเลือกบริโภคอาหารประเภทเส้น รวมทั้งสามารถผลิตอาหารประเภทเส้นที่มีคุณค่าทางอาหารและปลอดภัยจากวัตถุดิบในท้องถิ่นของตนเองได้

week9

Understanding  Goal : เข้าใจ และสามารถอธิบายเกี่ยวกับการเกิดน้ำเน่าเสีย รวมทั้งยังสามารถนำน้ำเน่าเสียจากการทำเส้นขนมจีนมาสร้างประโยชน์ได้
Week
Input
Process
Output
Outcome
9
(6-10 ก.ค 58)
โจทย์ : น้ำเน่าเสียจากการทำเส้นขนมจีน
Key Questions :
- น้ำเน่าเสียเกิดจากอะไร นักเรียนจะมีวิธีการดูแลน้ำเน่าเสียจากการทำเส้นขนมจีนได้อย่างไร
- นักเรียนจะนำน้ำเน่าเสียมาสร้างประโยชน์ได้อย่างไร
- ปัญหาและอุปสรรคในการทำงานมีอะไรบ้าง นักเรียนแก้ปัญหานั้นอย่างไร
- นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างจากการทำกิจกรรมในสัปดาห์นี้
เครื่องมือคิด :
Round Robin : พูดคุยสนทนาเกี่ยวกับน้ำเน่าเสียจากการทำเส้นขนมจีน
Show and Share : นำเสนอให้เหตุผลเกี่ยวกับการนำน้ำเน่าเสียจากการทำเส้นขนมจีนมาสร้างประโยชน์
Blackboard  Share : ระดมความคิดวางแผนงาน
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- คุณครู
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- อินเทอร์เน็ต
- ห้องสมุด
- ชุมชน
- ครัวประถม
- บรรยากาศในห้องเรียน
วันจันทร์ 3 ชั่วโมง
ชง
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด 
 น้ำเน่าเสียเกิดจากอะไร นักเรียนจะมีวิธีการดูแลน้ำเน่าเสียจากการทำเส้นขนมจีนได้อย่างไร
เชื่อม
- ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับคำถามในขั้นชง
- จากนั้นครูกระตุ้นการคิดต่อว่า นักเรียนจะนำน้ำเน่าเสียมาสร้างประโยชน์ได้อย่างไร นักเรียนแต่ละคนศึกษาค้นคว้าจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ เช่นห้องสมุด อินเตอร์เน็ต เป็นต้น
- แลกเปลี่ยนข้อมูลที่ได้จากการค้นคว้ามา
ใช้
- สรุปความเข้าใจจากการค้นคว้า ผ่านการเขียน บรรยาย
- เตรียมอุปกรณ์ (การบ้าน)
วันอังคาร 3 ชั่วโมง
ชง
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด วันจันทร์นักเรียนได้ทำกิจกรรมอะไรบ้างปัญหาและอุปสรรคในการทำงานมีอะไรบ้าง นักเรียนแก้ปัญหานั้นอย่างไร และวันนี้เราจะทำอะไรต่อ ผ่านเครื่องมือคิด Round Robin
เชื่อม
ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับคำถามในขั้นชง
- จากนั้นครูและนักเรียนสร้างข้อตกลงในการทำงานร่วมกัน
 ใช้
นักเรียนลงมือทำงานตามที่วางแผนไว้
วันพฤหัสบดี 1 ชั่วโมง
ใช้
- นำเสนอผลงานและทดลองใช้
- สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำงาน
วันศุกร์ 2 ชั่วโมง
ชง
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด 
1. นักเรียนได้เรียนรู้อะไรในสัปดาห์นี้และเรียนรู้อย่างไร
2. ความรู้ความเข้าใจในสัปดาห์นี้มีอะไรบ้าง
3. นักเรียนเจอปัญหาอะไรและมีวิธีการแก้ปัญหาอย่างไร
4. นักเรียนรู้สึกอย่างไรกับกิจกรรมที่ทำในสัปดาห์นี้
5. นักเรียนจะนำความเข้าใจที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวันอย่างไร
6. นักเรียนจะทำอะไรในสัปดาห์ต่อไป
เชื่อม
ครูและนักเรียนพูดคุยแลกเปลี่ยน ผ่านคำถามใน ขั้นชง
ใช้
  นักเรียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 9
ชิ้นงาน
- สรุปความเข้าใจจากการค้นคว้า ผ่านการเขียน บรรยาย
- สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำงาน
- ผลงานการนำน้ำเสียไปใช้ประโยชน์
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
- ออกแบบ วางแผนการทำงานเกี่ยวกับการนำน้ำเสียไปใช้ประโยชน์
- หาข้อมูลเกี่ยวกับการดูแลน้ำเสีย
- แลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้
- ทดลองใช้ผลงาน
ความรู้
- เข้าใจ และสามารถอธิบายเกี่ยวกับการเกิดน้ำเน่าเสีย
- นำน้ำเน่าเสียจากการทำเส้นขนมจีนมาสร้างประโยชน์
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
- นำน้ำเน่าเสียจากการทำเส้นขนมจีนมาสร้างประโยชน์ได้
- เก็บกวาดอุปกรณ์หลังการทำงานทุกครั้ง
- ใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นที่มีอยู่ให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด เช่น หิน ขวดน้ำ ทราย
ทักษะการจัดการข้อมูล
คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับนำน้ำเน่าเสียจากการทำเส้นขนมจีนมาสร้างประโยชน์ได้
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
คิดวางแผน ออกแบบ การ
ทำชิ้นงานได้
ทักษะการสื่อสาร
พูดนำเสนอ ให้เหตุผลเกี่ยวกับการนำน้ำเน่าเสียจากการทำเส้นขนมจีนมาสร้างประโยชน์ได้
ทักษะ ICT
สามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการหาข้อมูลเกี่ยวกับนำน้ำเน่าเสียจากการทำเส้นขนมจีนมาสร้างประโยชน์ได้
คุณลักษณะ
- รักการเรียนรู้ กระตือรือร้นในการทำงาน
- มีความพยายาม อดทนในการทำงานให้สำเร็จ
- รับฟังและกล้าแสดงความคิดเห็น
- มีความรับผิดชอบในการเตรียมอุปกรณ์


ตัวอย่างกิจกรรมการเรียนรู้








1 ความคิดเห็น:

  1. ในสัปดาห์ที่ 9 เรียนรู้การดูแลน้ำที่เน่าเสียจากการทำเส้นขนมจีน
    ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด
    น้ำเน่าเสียเกิดจากอะไร นักเรียนจะมีวิธีการดูแลน้ำเน่าเสียจากการทำเส้นขนมจีนได้อย่างไร
    พี่ออม : เกิดจากการหมักข้าวค่ะ
    พี่แม็ค : น้ำที่เกิดจากคนครับ
    ครูฟ้า : คนทำให้เกิดน้ำเน่าเสียได้อย่างไร
    พี่แม็ค : เช่นการทำเส้นขนมจีนเราไงครับ และก็น้ำที่เวลาเราอาบและปล่อยไว้นานๆครับ
    ครูฟ้า : ปัจจัยอะไรอีกที่ส่งผลต่อการเกิดน้ำเน่าเสีย เราจะทำอย่างไรเมื่อมันเกิดขึ้นแล้ว
    พี่มิว : จำได้ว่าครูฟ้าเคยเหล่าเกี่ยวกับน้องป. 5 ที่ทำเรื่องพลังงานชีวมวลค่ะ
    พี่เช็ค : ขุดหลุมครับ ปล่อยน้ำเสียลงไป
    พูดคุยสนทนากันไปเรื่อยๆประมาณ 20 นาที เด็กๆเริ่มไปหาข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆเช่น อินเตอร์เน็ต ห้องสมุด ถามคุณครู เป็นต้น ใช้เวลา 25 นาที
    เนื่องจากเน็ตช้าครูจึงต่อเวลาให้อีก 5 นาที
    วันต่อมาเด็กๆ ออกแบบและทดลองการดูแลน้ำเน่าเสีย โดยใช้ ข้าวที่หมักไว้มาผสมกับน้ำ จากนั้นนำน้ำที่ได้ไปผ่านการกรองด้วยทราย ถ่าน หิน สำลี
    บางคนกรองครั้งเดียว บางคนกรองสอง สามครั้ง เด็กๆสังเกตเห็นว่าน้ำใสขึ้นและกลิ่นลดลง สามารถนำไปรดผักได้เด็กๆแลกเปลี่ยน
    แต่มีวางกลุ่มที่วางแผนไว้ว่าต้องใส่สารส้ม จึงนำสารส้มมาละลายในน้ำหมัก ปรากฏว่าเกิดการตะกอนและน้ำใสขึ้น
    เด็กๆสงสัยว่าสารส้มอันตรายหรือเปล่า หรือทำอะไรได้อีก
    ครูจึงให้เด็กๆไปสอบถามผู้ปกครองและกลับมาแลกเปลี่ยนกับเพื่อนในวันถัดไป (เมื่อแลกเปลี่ยนเสร็จทุกคนเริ่มมองเห็นภาพมากขึ้น)
    วันสุดท้ายเด็กๆทบทวนความเข้าใจตนเองอีกครั้งหนึ่ง ใคร่ครวญในสิ่งที่ตนเองได้เรียนรู้ในสัปดาห์ จากนั้นสรุปสัปดาห์

    ตอบลบ