เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา1/2558 หน่วยการเรียนรู้: เด็กเส้น
เป้าหมาย(Understanding Goal) :
เข้าใจและเห็นความสำคัญของการเลือกบริโภคอาหารประเภทเส้น รวมทั้งสามารถผลิตอาหารประเภทเส้นที่มีคุณค่าทางอาหารและปลอดภัยจากวัตถุดิบในท้องถิ่นของตนเองได้

วันจันทร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2558

Mind mapping

คำถามหลัก (Big Question) : นักเรียนจะผลิตอาหารประเภทเส้นจากวัตถุดิบที่มีในท้องถิ่นให้เกิดคุณค่าต่อตนเองและผู้อื่นได้อย่างไร

เป้าหมายความเข้าใจ : เข้าใจและเห็นความสำคัญของการเลือกบริโภคอาหารประเภทเส้น รวมทั้งสามารถผลิตอาหารประเภทเส้นที่มีคุณค่าทางอาหารและปลอดภัยจากวัตถุดิบในท้องถิ่นของตนเองได้

ภูมิหลังของปัญหา

ในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้วิถีชีวิตของคนเปลี่ยนไป โดยเฉพาะวิถีการกินอยู่ ในอดีตผู้คนหาอาหารในป่า ทุ่งนา แม่น้ำ ลำคลองและประกอบอาหารเพื่อบริโภคเอง แต่ปัจจุบันอุตสาหกรรมอาหารเกิดขึ้นมากมาย ทั้งอาหารสำเร็จรูป กึ่งสำเร็จรูป อาหารสด อาหารแห้ง ทุกคนหาซื้อในการบริโภคได้อย่างง่ายดาย โดยเฉพาะอาหารประเภทเส้น เช่นก๋วยเตี๋ยว ขนมจีน ผัดไท เป็นต้น เป็นอาหารที่นิยมอย่างมากของคนในสังคมปัจจุบัน

รู้หรือไม่ว่าอาหารที่เราบริโภคเข้าสู่ร่างกายในแต่ละวันมีสารปนเปื้อนอยู่ ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพและอาจเป็นเหตุให้เกิดโรคร้ายแรงตามมาโดยไม่รู้ตัว จึงเป็นที่มาของการเรียนรู้หน่วย อาหาร(ประเภทเส้น) นักเรียนจะแก้ปัญหาอย่างไร ทำอย่างไรจึงจะได้กินอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายและสามารถผลิตอาหาร(ประเภทเส้น)ที่ปลอดภัยกับตนเองและผู้อื่นได้

ปฏิทินการเรียนรู้แบบบูรณาการ PBL ( Problem Based Learning )
 หน่วย : เด็กเส้น
ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  Quarter 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558
Week
Input
Process
Output
Outcome
1
โจทย์ : เรื่องที่อยากเรียนรู้
Key Questions :
- เหตุการณ์ที่นักเรียนเสียใจ/ดีใจที่สุดในช่วงปิดเรียนมีอะไรบ้าง
- นักเรียนสังเกตเห็นอะไร รู้สึกอย่างไร ในห้องเรียนของเรามีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร
- นักเรียนเห็นอะไร รู้สึกอย่างไรและคิดอย่างไรจากคลิปที่ได้ดู
เครื่องมือคิด :
Round Robin : พูดคุยสนทนาเกี่ยวกับเหตุการณ์ในช่วงปิดเรียน
Card and Chart : เรื่องที่อยากเรียนรู้
Show and Share : นำเสนอสรุปสิ่งที่ได้จากคลิป
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- คุณครู
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- เส้นชนิดต่างๆในห้องเรียน
- คลิปรายการ อาหารจีนโอชารส ตอนที่ 6 รสชาติ
คลิปกบนอกกะลา ตอนกบเล่นเส้น
- คลิปรายการเล่าเส้นเป็นเรื่อง
- เรื่องเล่าในช่วงปิดเรียนจากครูและนักเรียน
- บรรยากาศในชั้นเรียน
กระบวนการได้มาซึ่งหัวข้อ
- ครูและนักเรียนสนทนาเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่นักเรียนเสียใจ/ดีใจที่สุดในช่วงปิดเรียนมีอะไรบ้าง
- ครูเปิดคลิปรายการ อาหารโอชารส ตอนที่ 6 รสชาติ คลิปกบนอกกะลา ตอนกบเล่นเส้น และรายการเล่าเส้นเป็นเรื่อง ให้นักเรียนดู
- นักเรียนเห็นอะไร รู้สึกอย่างไรและคิดอย่างไรจากคลิปที่ได้ดู
- สำรวจ สังเกตในห้องเรียนของเรา ครูกระตุ้นการคิด เห็นอะไร รู้สึกอย่างไร เพราะเหตุใด จะทำอย่างไร
- นักเรียนอยากเรียนรู้เรื่องอะไรในQuarter นี้ ผ่านเครื่องมือคิด Card and Chart พร้อมให้เหตุว่าเพราะเหตุใดจึงอยากเรียนรู้ เรื่องนั้น
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
- ดูคลิปต่างๆ
- การสนทนาตอบคำถามแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้ดู ได้ฟัง
- สำรวจ สังเกตห้องเรียน
- แสดงความคิดเห็นให้เหตุผลประกอบเรื่องที่อยากเรียนรู้
ชิ้นงาน
- สรุปสิ่งที่ได้จากคลิปกบนอกกะลา ตอน ก๋วยเตี๋ยว
- เขียนเรื่องที่อยากเรียนรู้
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้
เข้าใจและสามารถอธิบายให้เหตุผลเกี่ยวกับเรื่องที่อยากเรียนรู้ได้
ทักษะ
ทักษะชีวิต
- ใช้ทรัพยากรของห้องที่มีอยู่อย่างจำกัดให้คุ้มค่าและเหมาะสม
- เห็นการเชื่อมโยง เห็นความสัมพันธ์ของอาหารในปัจจุบันต่อตนเอง
 ทักษะการสื่อสาร
- พูด/สื่อสารเหตุการณ์ที่ตนเองดีใจและเสียใจในวันหยุดที่ผ่านมาได้
- พูดนำเสนอสิ่งที่ได้จากการดูคลิปและเรื่องที่อยากเรียนรู้ให้ครูและเพื่อนๆฟังอย่างมีเหตุผล
ทักษะการจัดการข้อมูล
สามารถคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลจากการดูคลิปเพื่อเขียนสรุปความเข้าใจได้
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
สามารถทำงานเป็นทีมและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นได้
ทักษะ ICT
สามารถสืบค้นหาข้อมูลที่ตนเองสนใจอยากเรียนรู้จากแหล่งต่างๆเช่น Internet ผู้รู้ ห้องสมุดได้
คุณลักษณะ
- รักการเรียนรู้ กระตือรือร้นในการทำงาน
- มีความพยายาม อดทนในการทำงานให้สำเร็จอย่างมีเป้าหมาย
- รับฟังและกล้าแสดงความคิดเห็น
2
โจทย์ : วางแผนการเรียนรู้
Key Questions :
นักเรียนจะตั้งชื่อหน่วยนี้ว่าอย่างไร เพราะเหตุใดจึงใช้ชื่อนั้น
นักเรียนรู้อะไรเกี่ยวกับอาหาร(ประเภทเส้น)และอยากเรียนรู้อะไรใน Quarter นี้
นักเรียนจะออกแบบวางแผนการเรียนรู้ในQuarter นี้อย่างไรให้น่าสนใจและเกิดการเรียนรู้
เครื่องมือคิด :
Think  Pair Share : ตั้งชื่อหน่วย
Blackboard  Share : ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่อยากเรียนรู้และประเด็นเนื้อหาที่อยากเรียนรู้
Show and Share : นำเสนอปฏิทินการเรียนรู้
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- คุณครู
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- กระดาษ ปรู๊ฟ
- สี/ปากกาเคมี          
- บรรยากาศในห้องเรียน
กระบวนการวางแผนการเรียนรู้
- ตั้งชื่อโครงงาน
- เขียนสิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากรู้
- ทำปฏิทินการเรียนรู้ 10 สัปดาห์
- เขียนสรุปองค์ความรู้ก่อนเรียน  
- วาดภาพตกแต่งหน้าห้องเรียน
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ภาระงาน
- ระดมสมองตั้งชื่อโครงงาน
นำเสนอปฏิทินการเรียนรู้
ชิ้นงาน
- สิ่งที่รู้แล้ว สิ่งที่อยากเรียนรู้
- สรุปองค์ความรู้ก่อนเรียน (Mind Mapping)
ทำสิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้ (แผ่นใหญ่)
ทำเค้าโครงปฏิทินการเรียนรู้แต่ละสัปดาห์
ทำปฏิทินการเรียนรู้(แผ่นเล็ก)
สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้
สามารถทบทวนความรู้ความเข้าใจก่อนเรียนผ่านการเขียนสิ่งที่รู้แล้ว, Mind Mapping และสามารถออกแบบวางแผน
กระบวนการเรียนรู้ตลอด 10สัปดาห์ได้
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
- ออกแบบและเขียน Mind Mapping / ปฏิทินได้
- ออกแบบตกแต่งห้องเรียนให้สอดคล้องกับหน่วยได้
ออกแบบกิจกรรมการเรียนได้อย่างน่าสนใจ
- เก็บกวาดอุปกรณ์หลังการทำงานทุกครั้ง
ใช้ทรัพยากรของห้องที่มีอยู่อย่างจำกัดให้คุ้มค่าเช่น สี กระดาษ กรรไกร
- เห็นการเชื่อมโยง เห็นความสัมพันธ์ของเนื้อหาและกิจกรรมที่เรียน
ทักษะการสื่อสาร
สามารถพูดอธิบายนำเสนอปฏิทินการเรียนรู้ให้ครูและเพื่อนๆฟังอย่างมีเหตุผล
ทักษะการจัดการข้อมูล
- คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลเพื่อทำ Mind Mapping ก่อนเรียน
- จัดหมวดหมู่ปฏิทินรายสัปดาห์ได้
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
สามารถทำงานเป็นทีมและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นได้
ทักษะ การคิดสร้างสรรค์
- คิดวางแผนเนื้อหาและกิจกรรมที่อยากเรียนรู้ให้สอดคล้องกับหน่วย
ทักษะ การแก้ปัญหา
คิดวิเคราะห์และจัดการปัญหากระบวนการทำงานกลุ่ม
คุณลักษณะ
- ส่งงานตรงต่อเวลา
- มีความพยายาม อดทนในการทำงานให้สำเร็จ
- รับฟังและกล้าแสดงความคิดเห็น

3
โจทย์ :  อาหารประเภทเส้น
Key Questions :
- อาหารประเภทเส้นที่นักเรียนรู้จักมีอะไรบ้าง
- อาหารประเภทเส้นในต่างประเทศ
เหมือนหรือต่างจากประเทศไทยอย่างไร
- อาหารประเภทเส้นที่นักเรียน สนใจคืออะไรและสิ่งที่นักเรียนสนใจมีขั้นตอนการทำอย่างไร
- ขนมจีนเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับตัวเราอย่างไร
เครื่องมือคิด :
Flow chart : ขั้นตอนการทำอาหารประเภทเส้นและการทำเส้นขนมจีน
Mind Mapping :  เกี่ยวกับอาหารประเภทเส้น
Round Robin : พูดคุยสนทนาเกี่ยวกับอาหารประเภทเส้นในต่างประเทศเหมือนหรือต่างจากประเทศไทยอย่างไร
Show and Share : นำเสนอ Mind Mapping
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- คุณครู
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- ห้องสมุด
- อินเทอร์เน็ต
- บรรยากาศในห้องเรียน
- กระดาษ ปรู๊ฟ /กระดาษ A4
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด อาหารประเภทเส้นที่นักเรียนรู้จักมีอะไรบ้าง ผ่านเครื่องมือคิด Round Robin ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิดต่อว่า อาหารประเภทเส้นในต่างประเทศเหมือนหรือต่างจากประเทศไทยอย่างไร
- หาข้อมูลเกี่ยวกับอาหารประเภทเส้นจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ แลกเปลี่ยนข้อมูลกับเพื่อนๆ สรุปความเข้าใจผ่าน Mind Mapping
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด  อาหารประเภทเส้นที่นักเรียนสนใจ คืออะไรและสิ่งที่นักเรียนสนใจมีขั้นตอนการทำอย่างไร
- หาข้อมูลเกี่ยวกับขั้นตอนการทำอาหารประเภทเส้นที่ตนเองสนใจจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ สรุปความเข้าใจผ่าน Flow chart  พร้อมกับนำเสนอ แลกเปลี่ยนกับเพื่อนๆ
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด  อาหารประเภทเส้นในต่างประเทศ
เหมือนหรือต่างจากประเทศไทยอย่างไร และขนมจีนเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับตัวเราอย่างไร ผ่านเครื่องมือคิด Round Robin
- แบ่งกลุ่ม 4 กลุ่มเท่าๆกัน หาข้อมูลเกี่ยวกับการทำเส้นขนมจีนจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ สรุปความเข้าใจผ่าน Flow chart  พร้อมกับนำเสนอ แลกเปลี่ยนกับเพื่อนๆกลุ่มอื่น
- วางแผน แบ่งหน้าที่ในการเตรียมอุปกรณ์ สำหรับทำเส้นขนมจีน
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
- หาข้อมูลเกี่ยวกับอาหารประเภทเส้น, ขั้นตอนการทำอาหารประเภทเส้น
- นำเสนอ Flow chart
- เขียนวิเคราะห์อาหารประเภท
เส้นในต่างประเทศเหมือนหรือต่างจากประเทศไทยอย่างไร
- วางแผน แบ่งหน้าที่ในการเตรียมอุปกรณ์ สำหรับทำเส้นขนมจีน
ชิ้นงาน
- Mind Mapping เกี่ยวกับอาหารประเภทเส้น
- Flow chart เกี่ยวกับ ขั้นตอนการทำอาหารประเภทเส้นและการทำเส้นขนมจีน
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้
เข้าใจและสามารถอธิบายเกี่ยวกับอาหารประเภทเส้น รวมทั้งสามารถวิเคราะห์ความเหมือนและความแตกต่างของอาหารประเภทเส้นแต่ละประเทศได้
ทักษะ :
 ทักษะชีวิต
สามารถเลือกใช้อุปกรณ์ในการทำเส้นขนมจีนได้
- ออกแบบ วางแผนเตรียม
อุปกรณ์ในการทำเส้นขนมจีนได้
- ใช้อุปกรณ์ในการทำงานและเก็บเข้าที่
ทักษะการสื่อสาร
พูดนำเสนอข้อมูลที่หาได้จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆและนำเสนอเกี่ยวกับอาหารประเภทเส้นให้ครูและเพื่อนๆฟังได้
ทักษะการจัดการข้อมูล
คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับความเหมือนและความแตกต่างของอาหารประเภทเส้นแต่ละประเทศได้
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
สามารถทำงานเป็นทีมและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นได้
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
วาดภาพประกอบชิ้นงานต่างๆ
ทักษะ ICT
สามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการหาข้อมูลเกี่ยวกับอาหารประเภทเส้นได้
คุณลักษณะ
- รักการเรียนรู้ กระตือรือร้นส่งงานตรงต่อเวลา
- มีความพยายาม อดทนในการทำงานให้สำเร็จ
- รับฟังและกล้าแสดงความคิดเห็น
4
โจทย์ :  เส้นขนมจีน
Key Questions :
- นักเรียนจะผลิตเส้นขนมจีนและเพิ่มมูลค่าของเส้นขนมจีนได้อย่างไร
- นักเรียนคิดว่า ข้าว 1 เมล็ดประกอบไปด้วยอะไรบ้างแต่ละ อย่างทำหน้าที่อย่างไร
- ทำไมข้าวมีทั้งสีขาว สีเหลือง
สีม่วง เพราะเหตุใด
- ปัญหาและอุปสรรคในการทำงานมีอะไรบ้าง นักเรียนแก้ปัญหานั้นอย่างไร
เครื่องมือคิด :
Round Robin : พูดคุยสนทนาเกี่ยวกับเส้นขนมจีน
Web : ข้าว 1 เมล็ด ประกอบไปด้วยอะไรบ้างแต่ละอย่างทำหน้าที่อย่างไร
Show and Share : นำเสนอ Web
Wall Thinking : ขั้นตอนการทำเส้นขนมจีน
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ผู้ปกครอง
- คุณครู
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- ห้องสมุด
- อินเทอร์เน็ต
- บรรยากาศในห้องเรียน
- วัตถุดิบทำเส้นขนมจีน
- วัสดุ อุปกรณ์ในการทำที่บีบขนมจีน
- ข้าวเปลือก/ข้าวสาร
- ครูกระตุ้นการคิดด้วยคำถามว่า นักเรียนจะผลิตเส้นขนมจีนและเพิ่มมูลค่าของเส้นขนมจีนได้อย่างไร ผ่านเครื่องมือคิด Round Robin
- แต่ละกลุ่มเตรียมอุปกรณ์ตามที่วางแผนไว้ในสัปดาห์ที่ 3 และลงมือปฏิบัติตามแผนที่วางไว้
- หาข้อมูล วางแผนสำหรับทำอุปกรณ์บีบเส้นขนมจีน
- ครูกระตุ้นการคิดด้วยคำถามว่า ปัญหาและอุปสรรคในการทำงานมีอะไรบ้าง นักเรียนแก้ปัญหานั้นอย่างไร ผ่านเครื่องมือคิด Round Robin
-  แต่ละกลุ่มวางแผนเพิ่มมูลค่าของเส้นขนมจีน เช่น ทำขนมจีนน้ำยา
สปาเกตตีเส้นขนมจีน เป็นต้น
- หากลุ่มตัวอย่างทดลองชิม (บันทึกผล)
- ครูนำเมล็ดข้าวมาให้นักเรียนดู จากนั้นกระตุ้นการคิดด้วยคำถามว่า นักเรียนคิดว่า ข้าว 1 เมล็ดประกอบไป ด้วยอะไรบ้าง แต่ละอย่าง ทำหน้าที่อย่างไร และทำไมข้าวมีทั้งสีขาว สีเหลือง สีม่วง เพราะเหตุใดผ่านเครื่องมือคิด Round Robin
- หาข้อมูลเกี่ยวกับ ข้าว 1 เมล็ด ประกอบไปด้วยอะไรบ้างแต่ละอย่างทำหน้าที่อย่างไร  สรุปความเข้าใจ ผ่าน  Web
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
- ลงมือทำเส้นขนมจีน
- ทำอุปกรณ์บีบเส้นขนมจีน
- เพิ่มมูลค่าของเส้นขนมจีน เช่น ทำขนมจีนน้ำยา
สปาเกตตีเส้นขนมจีน เป็นต้น
- หากลุ่มตัวอย่างทดลองชิม (บันทึกผล)
ชิ้นงาน
- เส้นขนมจีนแต่ละกลุ่ม
- อุปกรณ์บีบเส้นขนมจีน
- แบบบันทึกผล
- Web ส่วนประกอบของข้าว 1 เมล็ด
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้
เข้าใจและสามารถวางแผนออกแบบการทำเส้นขนมจีนรวมทั้งสามารถอธิบายเกี่ยวกับส่วนประกอบของเมล็ดข้าวได้
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
- ทำเส้นขนมจีนได้
- ใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นเพื่อ
ประดิษฐ์ที่บีบเส้นขนมจีนได้
ออกแบบ วางแผนเพิ่มมูลค่าของเส้นขนมจีนได้
- เก็บกวาดอุปกรณ์หลังการทำงานทุกครั้ง
ใช้ทรัพยากรห้องที่มีอยู่ให้คุ้มค่าเช่น สี กระดาษ กรรไกร
ทักษะการจัดการข้อมูล
คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลเพื่อทำเส้นขนมจีนได้
ทักษะการคิด
คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์เกี่ยวกับความแตกต่างของสี(เมล็ดข้าว)ได้
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
สามารถทำงานเป็นทีมและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นได้
ทักษะ การคิดสร้างสรรค์
คิดวางแผน ออกแบบสร้างมูลค่าจากเส้นขนมจีนและประดิษฐ์ที่บีบเส้นขนมจีนได้
ทักษะ ICT
สามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการหาข้อมูลเกี่ยวกับการทำเส้นขนมจีนและส่วนประกอบของเมล็ดข้าวได้
ทักษะ การแก้ปัญหา
คิดวิเคราะห์และจัดการปัญหากระบวนการทำงานกลุ่ม
คุณลักษณะ
- รักการเรียนรู้ กระตือรือร้นส่งงานตรงต่อเวลา
- มีความพยายาม อดทนในการทำเส้นขนมจีนให้สำเร็จ
- รับฟังและกล้าแสดงความคิดเห็น
- มีความรับผิดชอบในการเตรียมอุปกรณ์
5
โจทย์ :  เส้นขนมจีน แบบใหม่
Key Questions :
- นักเรียนจะผลิตเส้นขนมจีนในรูปแบบใหม่ได้อย่างไร
- วัสดุดิบในชุมชนที่สามารถนำมาทำเส้นขนมจีนได้มีอะไรบ้าง
- นักเรียนจะทำอย่างไรให้
เส้นขนมจีนสามารถเก็บไว้รับประทานได้นานที่สุด
เครื่องมือคิด :
Round Robin : พูดคุยสนทนาเกี่ยวกับเส้นขนมจีนในรูปแบบใหม่
Show and Share : นำเสนอการ์ตูนช่อง นิทาน เรื่องการถนอมอาหาร
Wall Thinking : ขั้นตอนการทำเส้นขนมจีน
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ผู้ปกครอง
- คุณครู
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- อินเทอร์เน็ต
- ห้องสมุด
- บรรยากาศในห้องเรียน
- วัตถุดิบทำเส้นขนมจีนจากชุมชน

- ครูกระตุ้นการคิดด้วยคำถาม นักเรียนจะผลิตเส้นขนมจีนในรูปแบบใหม่ได้อย่างไรและวัตถุดิบที่นำมาใช้ทำเส้นขนมจีนต้องมาจากชุมชนของตนเอง  ผ่านเครื่องมือคิด Round Robin
- แต่ละกลุ่มออกแบบ วางแผนการทำเส้นขนมจีนและเตรียมอุปกรณ์
- ลงมือปฏิบัติตามแผนที่วางไว้
- ครูกระตุ้นการคิดด้วยคำถามว่า ความคืบหน้าของงานเป็นอย่างไร ปัญหาและอุปสรรคในการทำงานมีอะไรบ้าง นักเรียนแก้ปัญหานั้นอย่างไร ผ่านเครื่องมือคิด Round Robin  ครูกระตุ้นการคิดต่อว่า นักเรียนจะทำอย่างไรให้เส้นขนมจีนสามารถเก็บไว้รับประทานได้นานที่สุด
- แต่ละกลุ่มหาข้อมูลเกี่ยวกับการถนอมอาหาร นำข้อมูลที่ได้มาแลกเปลี่ยนกับเพื่อนๆ สรุปความเข้าใจรายบุคคลตามเทคนิคที่ตนเองถนัด
 - สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
- ลงมือทำเส้นขนมจีน
- วางแผนการถนอมอาหาร
- ศึกษา ค้นคว้าเกี่ยวกับการถนอมอาหาร
ชิ้นงาน
- เส้นขนมจีน รูปแบบใหม่ แต่ละกลุ่ม
- สรุปความเข้าใจเรื่องการถนอมอาหารรายบุคคลตามเทคนิคที่ตนเองถนัด เช่นการ์ตูนช่อง นิทาน
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ความรู้
เข้าใจเกี่ยวกับการทำเส้นขนมจีนและสามารถถนอมเส้นขนมจีนให้รับประทานได้นานที่สุด
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
- นำวัตถุดิบในท้องถิ่นมาทำเส้นขนมจีนได้
- สามารถถนอมเส้นขนมจีนได้นานที่สุด
- เก็บกวาดอุปกรณ์หลังการทำงานทุกครั้ง
ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด เช่น ข้าว ผัก ผลไม้
ทักษะการจัดการข้อมูล
คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการการถนอมอาหารได้
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
คิดวิธีการถนอมเส้นขนมจีนได้
ทักษะการสื่อสาร
พูดนำเสนอ การทำเส้นขนมจีนในรูปแบบใหม่ ให้ครูและเพื่อนๆฟังได้
ทักษะ ICT
สามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการหาข้อมูลเกี่ยวกับการถนอมอาหารได้
 คุณลักษณะ
- รักการเรียนรู้ กระตือรือร้นในการทำงาน
- มีความพยายาม อดทนในการคิดวิธีถนอมเส้นขนมจีน
- รับฟังและกล้าแสดงความคิดเห็น
- มีความรับผิดชอบในการเตรียมอุปกรณ์
6
โจทย์ : น้ำยาขนมจีน
Key Questions :
- นักเรียนจะทำยาขนมจีนที่มีคุณค่าทางอาหารได้อย่างไรโดยใช้ต้นทุนต่ำ
- น้ำยาขนมจีนมีส่วนผสมอะไรบ้าง แต่ละส่วนให้คุณค่าทางอาหารอย่างไร
- ผักชนิดใดที่กินคู่กับขนมจีนบ้างและผักชนิดนั้นให้คุณค่าทางอาหารอย่างไร
เครื่องมือคิด :
Round Robin : พูดคุยสนทนาเกี่ยวกับการทำน้ำยาขนมจีนที่มีคุณค่าทางอาหารได้อย่างไร
Show and Share : นำเสนอ ชาร์ตความรู้
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ผู้ปกครอง
- คุณครู
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- อินเทอร์เน็ต
- ห้องสมุด
- วัตถุดิบในการทำน้ำยาขนมจีน
- ผักต่างๆ
- บรรยากาศในห้องเรียน

- ครูกระตุ้นการคิดด้วยคำถามว่า นักเรียนจะทำน้ำยาขนมจีนที่มีคุณค่าทางอาหารได้อย่างไรโดยใช้ต้นทุนต่ำ และน้ำยาขนมจีนมีส่วนผสมอะไรบ้าง แต่ละส่วนให้คุณค่าทางอาหารอย่างไร ผ่านเครื่องมือคิด Round Robin
- หาข้อมูลเกี่ยวกับการทำน้ำยาขนมจีน และคุณค่าทางอาหารจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ แลกเปลี่ยนข้อมูลกับเพื่อนๆ สรุปความเข้าใจผ่าน ชาร์ตความรู้
- ออกแบบ วางแผนทำน้ำยาขนมจีน และเตรียมเส้นขนมจีนจากสัปดาห์ที่ 5
- ลงมือปฏิบัติตามที่วางแผนไว้ ครูกระตุ้นการคิดด้วยคำถามต่อผักชนิดใดที่กินคู่กับขนมจีนบ้างและผักชนิดนั้นให้คุณค่าทางอาหารอย่างไร
- หาข้อมูลเกี่ยวกับ ผักต่างๆที่กินกับขนมจีนและคุณค่าทางอาหารของผักชนิดนั้นๆ
- เขียนวิเคราะห์ ทำไมผักแต่ละชนิดเหมาะแก่การนำมารับประทานคู่กับขนมจีน
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
- ทำน้ำยาขนมจีน
- หาข้อมูลเกี่ยวกับการทำน้ำยาขนมจีน และคุณค่าทางอาหาร
- ออกแบบ วางแผนทำน้ำยาขนมจีน
ชิ้นงาน
- น้ำยาขนมจีนแต่ละกลุ่ม
- ชาร์ตความรู้ เกี่ยวกับการทำน้ำยาขนมจีนและคุณค่าทางอาหาร
- ผลงานเกี่ยวกับการวิเคราะห์เรื่องผัก
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้
เข้าใจและสามารถทำน้ำยาขนมจีนที่มีคุณค่าทางอาหาร
ได้
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
- ทำน้ำยาขนมจีนได้
- เลือกวัตถุดิบที่มีคุณค่าทาง
อาหารและใช้ต้นทุนต่ำได้
- เก็บกวาดอุปกรณ์หลังการทำงานทุกครั้ง
ใช้ทรัพยากรในโรงเรียนที่มีอยู่ให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด เช่น ผักต่างๆ
ทักษะการจัดการข้อมูล
คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการนำผักมากินกับขนมจีนได้
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
คิดวางแผน ออกแบบทำน้ำยาขนมจีนได้น่าสนใจ
ทักษะการสื่อสาร
พูดนำเสนอ ชาร์ตความรู้ เกี่ยวกับการทำน้ำยาขนมจีนได้
ทักษะ ICT
สามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการหาข้อมูลเกี่ยวกับการทำน้ำยาขนมจีนและคุณค่าทางอาหารได้
คุณลักษณะ
- กระตือรือร้นในการทำงาน ส่งงานตรงต่อเวลา
- มีความพยายาม อดทนในการทำน้ำยาขนมจีนให้สำเร็จ
- รับฟังและกล้าแสดงความคิดเห็น
- มีความรับผิดชอบในการเตรียมอุปกรณ์
7
โจทย์ : สารอาหาร
Key Questions :
- นักเรียนคิดว่าเราสามารถตรวจสอบสารอาหาร ที่มีอยู่ในอาหารได้อย่างไร
- อาหารที่นักเรียนชอบทานมากที่สุดคืออะไร และอาหารที่นักเรียนชอบทานมีสารอาหารประเภทใดบ้าง
เครื่องมือคิด :
Round Robin : พูดคุยสนทนาเกี่ยวกับสารอาหารและวิธีการตรวจสอบ
Show and Share : นำเสนอการทดลอง
Mind Mapping : สารอาหารประเภทต่างๆและวิธีการ
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- คุณครู
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- อินเทอร์เน็ต
- ห้องสมุด
สิ่งของที่นำมาตรวจสอบ
- สารที่ใช้ตรวจสอบ
- บรรยากาศในห้องเรียน

- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนคิดว่าเราสามารถตรวจสอบสารอาหาร ที่มีอยู่ในอาหารได้อย่างไร, อาหารที่นักเรียนชอบทานมากที่สุดคืออะไร และอาหารที่นักเรียนชอบทานมีสารอาหารประเภทใดบ้าง
ผ่านเครื่องมือคิด Round Robin
- แบ่งกลุ่มหาข้อมูลเกี่ยวกับสารอาหารที่อยู่ในอาหารและวิธีการตรวจสอบสารอาหาร
- นักเรียนแต่ละกลุ่มแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ได้ เพื่อนๆช่วยเพิ่มเติมในส่วนที่คิดต่าง
- นักเรียนสรุปความเข้าใจ ผ่านMind Mapping, ชาร์ตความรู้, การ์ตูนช่อง เกี่ยวกับสารอาหารประเภทต่างๆและวิธีการตรวจสอบ
- นักเรียนเตรียมสิ่งของมาตรวจสอบหาสารอาหาร เช่น ผลไม้ ข้าว นม
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
- หาข้อมูลเกี่ยวกับสารอาหารและวิธีการตรวจสอบ
- เตรียมสิ่งของมาตรวจสอบหาสารอาหาร
- สรุปความเข้าใจ ผ่าน Mind Mapping, ชาร์ตความรู้, การ์ตูนช่อง เกี่ยวกับสารอาหารประเภทต่างๆและวิธีการตรวจสอบ
ชิ้นงาน
- Mind Mapping, ชาร์ตความรู้, การ์ตูนช่อง เกี่ยวกับสารอาหารประเภทต่างๆและวิธีการ
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ความรู้
เข้าใจและสามารถอธิบาย
เกี่ยวกับสารอาหารแต่ละประเภท รวมทั้งตรวจสอบสารอาหารได้
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
- เลือกรับประทานอาหารให้เหมาะสมกับร่างกาย
- เก็บกวาดอุปกรณ์หลังการทำงานทุกครั้ง
ทักษะการจัดการข้อมูล
คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการตรวจสอบสารอาหาร
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
คิดวางแผน ออกแบบทำอาหารไก่พื้นเมืองที่มีต้นทุนจำกัดได้
ทักษะการสื่อสาร
พูดนำเสนอ Mind Mapping, ชาร์ตความรู้, การ์ตูนช่อง เกี่ยวกับสารอาหารประเภทต่างๆและวิธีการตรวจสอบให้ครูและเพื่อนๆฟังได้
ทักษะ ICT
สามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการหาข้อมูลเกี่ยวกับสารอาหารประเภทต่างๆและวิธีการตรวจสอบได้
คุณลักษณะ
- มีความรับผิดชอบในการเตรียมอุปกรณ์
- มีความพยายาม อดทนในการทำงานให้สำเร็จ
- รับฟังและกล้าแสดงความ
8
โจทย์ : การเลือกซื้อ
Key Questions :
- นักเรียนจะมีวิธีการเลือกซื้ออาหารอย่างไรบ้าง
- นักเรียนคิดว่าเครื่องหมาย อย. เครื่องหมาย มอก. มีความเกี่ยวข้องกับอาหารที่เราเลือกซื้อมารับประทานอย่างไร
- ทำไมต้องมีกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค ไม่มีกฎหมายจะทำอย่างไร
เครื่องมือคิด :
Round Robin : วิธีการเลือกซื้ออาหาร
Show and Share : นำเสนอ นิทาน เรื่องการเลือกซื้ออาหาร
Wall Thinking: ภาพสัญลักษณ์ อย.
และ มอก.
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- คุณครู
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- อินเทอร์เน็ต
- ห้องสมุด
- ผลิตภัณฑ์ที่มี เครื่องหมาย อย. เครื่องหมาย มอก.
- บรรยากาศในห้องเรียน

- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนจะมีวิธีการเลือกซื้ออาหารอย่างไรบ้าง  ผ่านเครื่องมือคิด Round Robin จากนั้นครูกระตุ้นการคิดต่อว่า นักเรียนคิดว่าเครื่องหมาย อย. เครื่องหมาย มอก. มีความเกี่ยวข้องกับอาหารที่เราเลือกซื้อมารับประทานอย่างไร ( ครูนำผลิตภัณฑ์มาให้นักเรียนดู )
- หาข้อมูลเกี่ยวกับ การเลือกซื้ออาหารเครื่องหมาย อย. และเครื่องหมาย มอก. จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ นำเสนอ แลกเปลี่ยนกับเพื่อนๆ เพื่อนๆช่วยเพิ่มเติมในส่วนที่คิดต่าง สรุปความเข้าใจผ่าน นิทาน 
- ครูให้นักเรียนนำผลิตภัณฑ์มาจากบ้าน
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด  ทำไมต้องมีกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค ไม่มีกฎหมายจะทำอย่างไร ผ่านเครื่องมือคิด Round Robin
- หาข้อมูลเกี่ยวกับกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค แลกเปลี่ยนข้อมูลกับเพื่อนๆ เพื่อนๆช่วยเพิ่มเติมในส่วนที่ต่างก่อนทำงาน
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
- หาข้อมูลเกี่ยวกับ การเลือกซื้ออาหาร กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค ฯลฯ
- นำเสนอ นิทาน เรื่องกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค
- นำผลิตภัณฑ์มาจากบ้าน
ชิ้นงาน
- นิทาน เรื่องกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ความรู้
เข้าใจเกี่ยวกับการเลือกซื้ออาหาร รวมถึงเครื่องต่างๆที่ปรากฏในผลิตภัณฑ์ต่างๆ
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
- เลือกบริโภคอาหารที่ปลอดภัยต่อสุขภาพได้
- รู้วิธีการบริโภคอาหารให้ปลอดภัย
- เก็บกวาดอุปกรณ์หลังการทำงานทุกครั้ง
ใช้ทรัพยากรของห้องที่มีอยู่ให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด เช่น กระดาษ กรรไกร ต่างๆ
ทักษะการจัดการข้อมูล
คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการเลือกซื้ออาหารเครื่องหมาย อย. และเครื่องหมาย มอก.ได้
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
คิดวางแผน ออกแบบ การทำนิทาน เรื่องการเลือกซื้ออาหารได้
ทักษะการสื่อสาร
พูดนำเสนอ นิทาน เรื่องการเลือกซื้ออาหารให้ครูและเพื่อนๆฟังได้
ทักษะ ICT
สามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการหาข้อมูลเกี่ยวกับการเลือกซื้ออาหารได้
คุณลักษณะ
- รักการเรียนรู้ กระตือรือร้นในการทำงาน
- มีความพยายาม อดทนในการทำงานให้สำเร็จ
- รับฟังและกล้าแสดงความคิดเห็น
9
โจทย์ : น้ำเน่าเสียจากการทำเส้นขนมจีน
Key Questions :
- น้ำเน่าเสียเกิดจากอะไร นักเรียนจะมีวิธีการดูแลน้ำเน่าเสียจากการทำเส้นขนมจีนได้อย่างไร
- นักเรียนจะนำน้ำเน่าเสียมาสร้างประโยชน์ได้อย่างไร
- ปัญหาและอุปสรรคในการทำงานมีอะไรบ้าง นักเรียนแก้ปัญหานั้นอย่างไร
- นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างจากการทำกิจกรรมในสัปดาห์นี้
เครื่องมือคิด :
Round Robin : พูดคุยสนทนาเกี่ยวกับน้ำเน่าเสียจากการทำเส้นขนมจีน
Show and Share : นำเสนอให้เหตุผลเกี่ยวกับการนำน้ำเน่าเสียจากการทำเส้นขนมจีนมาสร้างประโยชน์
Blackboard  Share : ระดมความคิดวางแผนงาน
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- คุณครู
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- อินเทอร์เน็ต
- ห้องสมุด
- ชุมชน
- ครัวประถม
- บรรยากาศในห้องเรียน
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด
 น้ำเน่าเสียเกิดจากอะไร นักเรียนจะมีวิธีการดูแลน้ำเน่าเสียจากการทำเส้นขนมจีนได้อย่างไร
- ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับ วิธีการดูแลน้ำเน่าเสีย
- จากนั้นครูกระตุ้นการคิดต่อว่า นักเรียนจะนำน้ำเน่าเสียมาสร้างประโยชน์ได้อย่างไร นักเรียนแต่ละคนศึกษาค้นคว้าจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ เช่นห้องสมุด อินเตอร์เน็ต เป็นต้น
- แลกเปลี่ยนข้อมูลที่ได้จากการค้นคว้ามา
- สรุปความเข้าใจจากการค้นคว้า ผ่านการเขียน บรรยาย
- วางแผนเตรียมอุปกรณ์
- นักเรียนลงมือทำงานตามที่วางแผนไว้
- นำเสนอผลงานและทดลองใช้
- สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำงาน
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
- ออกแบบ วางแผนการทำงานเกี่ยวกับการนำน้ำเสียไปใช้ประโยชน์
- หาข้อมูลเกี่ยวกับการดูแลน้ำเสีย
- แลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้
- ทดลองใช้ผลงาน
ชิ้นงาน
- สรุปความเข้าใจจากการค้นคว้า ผ่านการเขียน บรรยาย
- สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำงาน
- ผลงานการนำน้ำเสียไปใช้ประโยชน์
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ความรู้
- เข้าใจ และสามารถอธิบายเกี่ยวกับการเกิดน้ำเน่าเสีย
- นำน้ำเน่าเสียจากการทำเส้นขนมจีนมาสร้างประโยชน์
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
- นำน้ำเน่าเสียจากการทำเส้นขนมจีนมาสร้างประโยชน์ได้
- เก็บกวาดอุปกรณ์หลังการทำงานทุกครั้ง
- ใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นที่มีอยู่ให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด เช่น หิน ขวดน้ำ ทราย
ทักษะการจัดการข้อมูล
คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับนำน้ำเน่าเสียจากการทำเส้นขนมจีนมาสร้างประโยชน์ได้
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
คิดวางแผน ออกแบบ การ
ทำชิ้นงานได้
ทักษะการสื่อสาร
พูดนำเสนอ ให้เหตุผลเกี่ยวกับการนำน้ำเน่าเสียจากการทำเส้นขนมจีนมาสร้างประโยชน์ได้
ทักษะ ICT
สามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการหาข้อมูลเกี่ยวกับนำน้ำเน่าเสียจากการทำเส้นขนมจีนมาสร้างประโยชน์ได้
คุณลักษณะ
- รักการเรียนรู้ กระตือรือร้นในการทำงาน
- มีความพยายาม อดทนในการทำงานให้สำเร็จ
- รับฟังและกล้าแสดงความคิดเห็น
- มีความรับผิดชอบในการเตรียมอุปกรณ์
10
โจทย์ :  เมนูอาหารประเภทเส้นในอนาคต
Key Question :
 นักเรียนคิดว่าเมนูอาหารประเภทเส้นในอนาคตจะเป็นอย่างไร เพราะเหตุใด
Round Robin : ระดมความคิดเกี่ยวกับเมนูอาหารประเภทเส้นในอนาคต
Show and Share นำเสนอ เมนูอาหารประเภทเส้นในอนาคตของแต่ละคน
Wall Thinking เมนูอาหารประเภทเส้นที่รู้จัก
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
ครู
นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- ห้องสมุด
- อินเทอร์เน็ต
บรรยากาศในชั้นเรียน
- อุปกรณ์การทำอาหาร
- ครูกระตุ้นการคิดด้วยคำถามนักเรียนคิดว่าเมนูอาหารประเภทเส้นในอนาคตจะเป็นอย่างไร เพราะเหตุใด
- นักเรียนคิดค้นเมนูอาหารประเภทเส้นในอนาคต ผ่านการเขียนบรรยาย
- นักเรียนนำเสนอผลงานเมนูอาหารประเภทเส้นในอนาคตให้ครูและเพื่อนๆฟัง
- ครูจับฉลากแบ่งกลุ่มเป็น 4 กลุ่ม
- ครูกระตุ้นการคิดด้วยคำถามว่า อาหารประเภทเส้นในอนาคต 1 เมนู ที่อยากจะนำเสนอให้เพื่อนได้ชิม
- นักเรียนแต่ละกลุ่มเลือกอาหารประเภทเส้นกลุ่มละ 1 เมนู จากนั้นวางแผนการทำงาน เช่นอุปกรณ์ที่ใช้มีอะไรบาง ใครจะต้องเตรียมอะไร เป็นต้น
- นักเรียนแต่ละกลุ่มทำอาหารประเภทเส้นในอนาคตตามที่ออกแบบวางแผนไว้
- นักเรียนแต่ละกลุ่มชิมอาหารของกลุ่มเพื่อนๆแต่ละกลุ่มแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้ร่วมกัน เช่น อะไรที่ทำได้ดีแล้วของเพื่อน อะไรที่ต้องเพิ่มเติมหรือพัฒนาต่อ
- นักเรียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
นำเสนอผลงานอาหารประเภทเส้นในอนาคต
ทำอาหารประเภทเส้นในอนาคต
ชิม/สะท้อน
แลกเปลี่ยน
ชิ้นงาน
- เมนูอาหารประเภทเส้นในอนาคต
- อาหารประเภทเส้นในอนาคตในแต่ละกลุ่ม
สรุปการเรียนรู้ราย
สัปดาห์

ความรู้
เข้าใจและสามารถอธิบายเกี่ยวกับเมนูอาหารประเภทเส้นในอนาคตได้อย่างมีเหตุผลผ่าน เขียนบรรยาย
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
- สามารถออกแบบ วางแผนการทำอาหารประเภทเส้นในอนาคตได้)
- เก็บกวาดอุปกรณ์หลังการทำงานทุกครั้ง
ใช้ทรัพยากรในการทำอาหารอย่างคุ้มค่า
ทักษะการจัดการข้อมูล
คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับอาหารประเภทเส้นในอนาคตได้
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
คิดวางแผน ออกแบบเมนูอาหารประเภทเส้นในอนาคตได้
ทักษะการสื่อสาร
พูดทำอาหารประเภทเส้นในอนาคตให้ครูและเพื่อนๆฟังได้
ทักษะ ICT
สามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการหาข้อมูลได้
คุณลักษณะ
- รักการเรียนรู้ กระตือรือร้นในการทำงาน
- มีความพยายาม อดทนในการทำงานให้สำเร็จ
- รับฟังและกล้าแสดงความคิดเห็น
11
โจทย์ :สรุปองค์ความรู้ 
Key Questions:
- นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างจากการเรียนหน่วยเด็กเส้นและจะนำเสนอผลงานให้ผู้อื่นรู้และเข้าใจได้อย่างไรบ้าง
สิ่งที่ทำดีแล้ว และสิ่งที่ควรพัฒนามีอะไรบ้าง
เครื่องมือคิด :
Round Robin : พูดคุยสนทนาเกี่ยวกับการนำเสนอความงอกงาม
Show and Share : นำเสนอMind Mapping หลังเรียน
Blackboard  Share : ระดมความคิดวางแผนเปิดบ้าน
Place met สิ่งที่ดีแล้วสิ่งที่ควรพัฒนาต่อ

 ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- คุณครู
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- อุปกรณ์การแสดง
- ห้องเรียน
- กระดาษ A4/A3
- บรรยากาศในห้องเรียน

ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด 
- นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างจากการเรียนหน่วยเด็กเส้นและจะนำเสนอผลงานให้ผู้อื่นรู้และเข้าใจได้อย่างไรบ้าง
- นักเรียนสรุปองค์ความรู้หลังเรียน
- นักเรียนและครูร่วมกันประเมินเพื่อสะท้อนผลงาน
-  นักเรียนระดมความคิดเขียน สิ่งที่ทำได้ดี และ สิ่งที่ควรพัฒนาเกี่ยวกับการเรียนหน่วยเรื่องเด็กเส้น
ซ้อมละคร
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
เขียนสิ่งที่ดีแล้วสิ่งที่ควรพัฒนาต่อ
จัดบรรยากาศในห้องเรียน เตรียมเผยแพร่องค์ความรู้
ซ้อมละคร
เขียนตอบคำถามสิ่งที่อยากเรียนรู้
ชิ้นงาน
- Mind Mapping
สรุปองค์ความรู้หลังเรียน
ตอบคำถามสิ่งที่อยากเรียนรู้
- ละคร
- Place met สิ่งที่ดีแล้วสิ่งที่ควรพัฒนาต่อ
สรุปการเรียนรู้ราย
สัปดาห์

ความรู้
เข้าใจและสามารถถ่ายทอดตอบคำถามเกี่ยวกับสิ่งที่เรียนมาตลอด 10 สัปดาห์ให้ผู้อื่นรับรู้ได้
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
- สามารถออกแบบวางแผนการแสดงละครสรุปความเข้าใจได้)
- เก็บกวาดอุปกรณ์หลังการทำงานทุกครั้ง
ใช้ทรัพยากรของห้องที่มีอยู่อย่างจำกัดให้คุ้มค่า เช่น สี กระดาษ ผ้า
ทักษะการจัดการข้อมูล
คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งที่เรียนมาได้
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
คิดวางแผน ออกแบบกิจกรรมในการนำเสนอผลงานได้
ทักษะการสื่อสาร
พูดนำเสนอ เค้าโครงละคร และ Mind Mapping สรุปองค์ความรู้(หลังเรียน)ให้ครูและเพื่อนเข้าใจได้
ทักษะ ICT
สามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการนำเสนอสิ่งที่เรียนได้
คุณลักษณะ
- มั่นใจ กล้าพูด กล้าแสดงความคิดเห็น
- มีความพยายาม อดทนในการเตรียมความพร้อมในการนำเสนองานให้สำเร็จ
- กล้าแสดงออก ผ่านละคร
12
โจทย์ : เผยแพร่ความเข้าใจ
Key Questions :
- นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างจากการเปิดบ้านครั้งนี้
- สิ่งที่ทำได้ดีแล้ว สิ่งที่ควรพัฒนาต่อใน Quarter 2 (การเปิดบ้าน)
เครื่องมือคิด :
Round Robin : พูดคุยสนทนาเกี่ยวกับการเปิดบ้าน
Show and Share : นำเสนอเผยแพร่งาน

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- คุณครู
- นักเรียน
- ผู้ปกครอง
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศในห้องเรียน
- อุปกรณ์แสดงละคร
- วัดหนองผะองค์
- อาหารประเภทเส้น
- ซ้อมนำเสนอผลงาน เช่นละคร / พิธีกร
- จัดฉากเวที
- เปิดบ้าน นำเสนอผลงาน
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด 
- นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างจากการเปิดบ้านครั้งนี้
- สิ่งที่ทำได้ดีแล้ว สิ่งที่ควรพัฒนาต่อใน Quarter 2 (จากการเปิดบ้าน)
- ครู นักเรียน และผู้ปกครองเปิดโรงทาน อาหารปะเภทเส้นที่วัด
หนองผะองค์ (วันเข้าพรรษา)
- นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างจากการทำโรงทานในครั้งนี้ สรุปความเข้าใจผ่าน การ์ตูนช่อง (การบ้านปิด Q1)
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
- เปิดบ้าน นำเสนอ
ผลงาน
- จัดฉากเวที
- เปิดโรงทาน
ชิ้นงาน
- การ์ตูนช่อง สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำโรงทาน
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
- ละคร

ความรู้
เข้าใจ และสามารถถ่ายทอดสิ่งที่เรียนรู้มาตลอด Quarter ผ่าน ละครได้
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
- ออกแบบ วางแผนการถ่ายทอดความเข้าใจเรื่องที่เรียน
- จัดฉากเวทีการแสดง
- เก็บกวาดอุปกรณ์หลังการทำงานทุกครั้ง
- ใช้ทรัพยากรในห้องเรียนที่มีอยู่ให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด เช่น ผ้า สีน้ำ ปากกาเคมี
ทักษะการจัดการข้อมูล
คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์เกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้จาการนำเสนองาน
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
คิดวางแผน ออกแบบ การจัดเวที
ทักษะการสื่อสาร
พูดนำเสนอละคร เกี่ยวกับเรื่องที่เรียนได้
คุณลักษณะ
- รักการเรียนรู้ กระตือรือร้นในแสดงละคร
- มีความพยายาม อดทนในการทำงานให้สำเร็จ
- รับฟังและกล้าแสดงความคิดเห็น
- มีความรับผิดชอบในการเตรียมอุปกรณ์
ตารางวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างสาระการเรียนรู้กับมาตรฐานการเรียนรู้ และตัวชี้วัดแต่ละกลุ่มสาระ
หน่วย เด็กเส้น ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 / 2558  (Quarter 1)


สาระการเรียนรู้
มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด
วิทยาศาสตร์
สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
การงานอาชีพและเทคโนโลยี
สุขศึกษาและ
พลานามัย
ศิลปะ
ประวัติศาสตร์
หน้าที่พลเมือง
สร้างฉันทะ สร้างแรงบันดาลใจ
- เลือกเรื่องที่อยากเรียนรู้
- ตั้งชื่อหน่วยการเรียนรู้
- สิ่งที่รู้แล้ว สิ่งที่อยากเรียนรู้
- ปฏิทินการเรียนรู้
- Mind Mapping
ก่อนเรียน
มาตรฐาน ว 8.1
- ตั้งคำถามเกี่ยวกับประเด็นหรือเรื่องที่จะศึกษาตามที่กำหนดให้และตามความสนใจ 
(8.1 .6/1 )
- วางแผนการเรียนรู้ การศึกษาค้นคว้า  เสนอวิธีสำรวจตรวจสอบหรือศึกษาค้นคว้าและคาดการณ์สิ่งที่จะพบจากการศึกษาค้นคว้า  
(8.1 .6/2)
- สร้างคำถามใหม่จากสิ่งที่อยากเรียนรู้ และประเด็นปัญหาที่อยากแก้ไข       
(8.1  ป.6/5)
- เข้าใจและสามารถแสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ อธิบายและลงความเห็น สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้
(8.1 .6/6 )
 - นำเสนอ จัดแสดงผลงานโดยอธิบายด้วยวาจา หรือเขียนอธิบายแสดงกระบวนการและผลของงานให้ผู้อื่นเข้าใจ
(8.1  ป.6/8 )
มาตรฐาน ส1.1
- เห็นคุณค่าและประพฤติตนตามแบบอย่างในการดำเนินชีวิต
(1.1 .6/3)
- ชื่นชมการทำความดี ของบุคคลอื่น
(1.1 .6/4)
- เข้าใจและปฏิบัติตนตามหลักธรรมของศาสนาที่ตนเองนับถือ
(1.1 .6/7)
มาตรฐาน ส1.2
 เข้าใจและแสดงออกถึงมารยาทของความเป็นศาสนิกชนที่ดีได้
(1.2 .6/2)
มาตรฐาน ส3.1
 เข้าใจและรู้จักบทบาทของตนเอง
(3.1 .6/1)
มาตรฐาน ส5.2
อธิบายการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติจากอดีตถึงปัจจุบันและผลที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงนั้นได้
(5.2 .6/2)
 มาตรฐาน   ง 1.1
- เข้าใจและสามารถอภิปรายแนวทางในการทำงานและปรับปรุงการทำงานในแต่ละขั้นตอนได้
(1.1 .6 /1 )
- เข้าใจและสามารถใช้กระบวนการกลุ่มในการทำงานด้วยความเสียสละ  
(1.1 .1 /2 )
- ตัดสินใจแก้ปัญหาการทำงานอย่างมีเหตุผล (1.1 .1 /3 )
- ปฏิบัติตนอย่างมีมารยาทในการทำงานร่วมกับผู้อื่น
(1.1  ป.6 /3)
 มาตรฐาน  พ 2.1
เข้าใจและสามารถอธิบายความสำคัญของการสร้างและรักษาสัมพันธภาพในการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
( 2.1.6/1)
มาตรฐาน  พ 3.1
ใช้ความสามารถของตนเองเพื่อเพิ่มศักยภาพของทีม คำนึงถึงผลที่เกิดต่อผู้อื่นและชุมชน                  
( 3.1.4/2 )
มาตรฐาน ศ1.1
- วาดภาพโดยใช้เทคนิคของแสง เงา  น้ำหนัก และวรรณะสี (1.1 .6/1)
- สร้างงานทัศนศิลป์เป็นแผนภาพแผนผังและภาพประกอบเกี่ยวกับเรื่องที่อยากเรียนรู้และสนใจ เพื่อถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจ
(1.1  ป.6/7)

มาตรฐาน ส 4.1
นำเสนอข้อมูลจากหลักฐานที่หลากหลายในการทำความเข้าใจเรื่องที่อยากเรียนรู้                
(4.1  .6/2)

มาตรฐาน ส2.1
- เข้าใจและแสดงออกถึงมารยาทไทยได้เหมาะสมกับกาลเทศะ          
(2.1 .6/3)
- เห็นคุณค่าวัฒนธรรมไทยที่มีผลต่อการดำรงชีวิตในสังคมไทย     
 (2.1 .6/4)
- ติดตามข้อมูลข่าวสารเหตุการณ์ต่างๆในชีวิตประจำวันเลือกรับและใช้ข้อมูลข่าวสารได้อย่างเหมาะสม          
(2.1  ป.6/5)
- เข้าใจและแสดงออกถึงการเคารพในสิทธิเสรีภาพของตนเองและผู้อื่น
(2.1  ม.1/4)



สาระการเรียนรู้
มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด
วิทยาศาสตร์
สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
การงานอาชีพและเทคโนโลยี
สุขศึกษาและ
พลานามัย
ศิลปะ
ประวัติศาสตร์
หน้าที่พลเมือง
อาหารประเภทเส้น
- คุณค่าทางอาหาร
- ข้อดี/ข้อเสีย
- สายใยอาหาร
- การถนอมอาหาร

มาตรฐาน ว 1.1
 เข้าใจและสามารถวิเคราะห์สารอาหารรวมทั้งอภิปรายความจำเป็นที่ร่างกายต้องได้รับสารอาหารในสัดส่วนที่เหมาะสมกับเพศและวัย
(1.1 .6/3 )
มาตรฐาน ว 2.1
อธิบายความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในรูปของโซ่อาหารและสายใยอาหาร
( 2.1 .6/2 )
มาตรฐาน ว 2.2
สืบค้นข้อมูลและอภิปรายแหล่งทรัพยากรธรรมชาติในแต่ละท้องถิ่นที่เป็น
ประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต
(2.2 .6/1 )
เข้าใจและสามารถวิเคราะห์ผลการเพิ่มขึ้นของประชากรมนุษย์ต่อการบริโภคอาหาร ที่ส่งผลต่อโลก สังคม ชุมชนและตัวเราเอง ( 2.2 .6/2 )
- มีส่วนร่วมในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น (2.2 .6/5 )
มาตรฐาน ว 3.1
เข้าใจและสามารถอภิปรายการใช้สารถนอมอาหารที่ปลอดภัยได้ (ว 3.1 .6/5 )
มาตรฐาน ว 3.2
เข้าใจและสามารถใช้สารเคมีในการทดสอบสารอาหารได้อย่างปลอดภัย
(ว 3.2 .2/4 )
มาตรฐาน ว 8.1
- ตั้งคำถามเกี่ยวกับอาหารประเภทเส้น (8.1 .6/1 )
- วางแผนการตรวจสอบคุณค่าทางอาหารของอาหารแต่ละประเภท
(8.1 .6/2)
- เลือกอุปกรณ์ในการตรวจ
สอบสารอาหารที่เหมาะสม และน่าเชื่อได้
(8.1 .6/3 )
- เข้าใจและสามารถแสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ อธิบายและลงความเห็น สรุปเรื่องอาหารประเภทเส้นได้ (8.1 .6/6 )
 - นำเสนอ จัดแสดงผลงานโดยอธิบายด้วยวาจา หรือเขียนอธิบายแสดงกระบวนการและผลของงานให้ผู้อื่นเข้าใจ
(8.1  ป.6/8 )
มาตรฐาน ส1.1
- เห็นคุณค่าและประพฤติตนตามแบบอย่างในการดำเนินชีวิต
(1.1 .6/3)
- ชื่นชมการทำความดี ของบุคคลอื่น
(1.1 .6/4)
- เข้าใจและปฏิบัติตนตามหลักธรรมของศาสนาที่ตนเองนับถือ
(1.1 .6/7)
มาตรฐาน ส1.2
 เข้าใจและแสดงออกถึงมารยาทของความเป็นศาสนิกชนที่ดีได้
(1.2 .6/2)
มาตรฐาน ส3.1
 เข้าใจและรู้จักบทบาทของตนเอง
(3.1 .6/1)
มาตรฐาน ส5.2
อธิบายการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติจากอดีตถึงปัจจุบันและผลที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงนั้นได้
(5.2 .6/2)
 มาตรฐาน   ง 1.1
- เข้าใจและสามารถอภิปรายแนวทางในการทำงานและปรับปรุงการทำงานในแต่ละขั้นตอนได้
(1.1 .6 /1 )
- เข้าใจและสามารถใช้กระบวนการกลุ่มในการทำงานด้วยความเสียสละ  
(1.1 .1 /2 )
- ตัดสินใจแก้ปัญหาการทำงานอย่างมีเหตุผล (1.1 .1 /3 )
- ปฏิบัติตนอย่างมีมารยาทในการทำงานร่วมกับผู้อื่น
(1.1  ป.6 /3)
มาตรฐาน   ง 3.1
- เข้าใจและสามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการหาข้อมูลเกี่ยวกับอาหารประเภทเส้นได้
(3.1  ป.6 /2)
- สามารถเก็บข้อมูลในรูปแบบต่างๆได้
(3.1  ป.6 /3)
มาตรฐาน   ง 4.1
สำรวจในชุมชนตนเองเพื่อวางแผนเลือกอาชีพได้ (4.1  ป.6 /1)

 มาตรฐาน  พ 2.1
เข้าใจและสามารถอธิบายความสำคัญของการสร้างและรักษาสัมพันธภาพในการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
( 2.1.6/1 )
มาตรฐาน  พ 3.1
ใช้ความสามารถของตนเองเพื่อเพิ่มศักยภาพของทีม คำนึงถึงผลที่เกิดต่อผู้อื่นและชุมชน                  
( 3.1.4/2 )
มาตรฐาน  พ 4.1
- เลือกกินอาหารที่เหมาะสมกับวัยได้
( 4.1.1/1 )
- เข้าใจและสามารถ
วิเคราะห์ปัญหาที่เกิดจากอาหารต่อสุขภาพได้
( 4.1.1/2 )

มาตรฐาน ศ1.1
- เข้าใจและสามารถถ่ายทอดเรื่องราวของอาหารประเภทเส้นผ่านวาดภาพโดยใช้เทคนิคของแสง เงา  น้ำหนัก และวรรณะสี
(1.1 .6/1)
- สร้างงานทัศนศิลป์เป็นแผนภาพแผนผังและภาพประกอบเกี่ยวกับเรื่องสายใยอาหาร เพื่อถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจ
(1.1  ป.6/7)
มาตรฐาน ศ3.1
ออกแบบ สร้างสรรค์เรื่องราวอาหารประเภทเส้นถ่ายทอดผ่านละครได้ (3.1  ป.6/2)

มาตรฐาน ส 4.1
นำเสนอข้อมูลจากหลักฐานที่หลากหลายในการทำความเข้าใจเรื่องอาหารประเภทเส้นได้  
(4.1  .6/2)

มาตรฐาน ส2.1
- เข้าใจและแสดงออกถึงมารยาทไทยได้เหมาะสมกับกาลเทศะ           
(2.1 .6/3)
- เห็นคุณค่าของอาหารที่มีผลต่อการดำรงชีวิตในสังคมไทย    
 (2.1 .6/4)
- ติดตามข้อมูลข่าวสารเหตุการณ์ต่างๆในชีวิตประจำวันเลือกรับและใช้ข้อมูลข่าวสารได้อย่างเหมาะสม          
(2.1  ป.6/5)
- เข้าใจและแสดงออกถึงการเคารพในสิทธิเสรีภาพของตนเองและผู้อื่น
(2.1  ม.1/4)



สาระการเรียนรู้
มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด
วิทยาศาสตร์
สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
การงานอาชีพและเทคโนโลยี
สุขศึกษาและ
พลานามัย
ศิลปะ
ประวัติศาสตร์
หน้าที่พลเมือง
ออกแบบ สร้างสรรค์
- เส้นขนมจีน
- น้ำยาขนมจีน
- ที่บีบเส้นขนมจีน
- การถนอมเส้นขนม
จีน


มาตรฐาน ว 1.1
 เข้าใจและสามารถวิเคราะห์สารอาหารในเส้นขนมจีน น้ำยาขนมจีนรวมทั้งอภิปรายความจำเป็นที่ร่างกายต้องได้รับสารอาหารในสัดส่วนที่เหมาะสมกับเพศและวัย
(1.1 .6/3 )
มาตรฐาน ว 2.2
สืบค้นข้อมูลและอภิปรายแหล่งทรัพยากรธรรมชาติในแต่ละท้องถิ่นที่เป็น
ประโยชน์ต่อการผลิตเส้นขนมจีนได้
(2.2 .6/1 )
- มีส่วนร่วมในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น (2.2 .6/5 )
มาตรฐาน ว 8.1
- ตั้งคำถามเกี่ยวกับการผลิตเส้นขนมจีนจากวัสถุดิบในท้องถิ่นได้ 
(8.1 .6/1 )
- วางแผนการทำน้ำยาขนมจีนที่มีคุณค่าทางอาหาร (8.1 .6/2)
- เลือกอุปกรณ์ในทำเส้นขนมจีน น้ำยาขนมจีน
ที่เหมาะสม และน่าสนใจได้ (8.1 .6/3 )
- เข้าใจและสามารถแสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ อธิบายและลงความเห็น สรุปเรื่องการออกแบบเส้นขนมจีนได้ (8.1 .6/6 )
 - นำเสนอ จัดแสดงผลงานโดยอธิบายด้วยวาจา หรือเขียนอธิบายแสดงกระบวนการและผลของงานให้ผู้อื่นเข้าใจ
(8.1  ป.6/8 )
มาตรฐาน ส1.1
- เห็นคุณค่าและประพฤติตนตามแบบอย่างในการดำเนินชีวิต
(1.1 .6/3)
- ชื่นชมการทำความดี ของบุคคลอื่น
(1.1 .6/4)
- เข้าใจและปฏิบัติตนตามหลักธรรมของศาสนาที่ตนเองนับถือ
(1.1 .6/7)
มาตรฐาน ส1.2
 เข้าใจและแสดงออกถึงมารยาทของความเป็นศาสนิกชนที่ดีได้
(1.2 .6/2)
มาตรฐาน ส3.1
 เข้าใจและรู้จักบทบาทของตนเอง
(3.1 .6/1)
มาตรฐาน ส5.2
อธิบายการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติจากอดีตถึงปัจจุบันและผลที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงนั้นได้
(5.2 .6/2)
 มาตรฐาน   ง 1.1
- เข้าใจและสามารถอภิปรายแนวทางในการทำงานและปรับปรุงการทำงานในแต่ละขั้นตอนได้
(1.1 .6 /1 )
- เข้าใจและสามารถใช้กระบวนการกลุ่มในการทำงานด้วยความเสียสละ  
(1.1 .1 /2 )
- ตัดสินใจแก้ปัญหาการทำงานอย่างมีเหตุผล (1.1 .1 /3 )
- ปฏิบัติตนอย่างมีมารยาทในการทำงานร่วมกับผู้อื่น
(1.1  ป.6 /3)
มาตรฐาน   ง 2.1
เข้าใจและสามารถนำความรู้และทักษะเพื่อผลิตเส้นขนมจีนและน้ำยาขนมจีนได้
(2.1  ป.6 /3)
มาตรฐาน   ง 3.1
- เข้าใจและสามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการหาข้อมูลเกี่ยวกับการผลิตเส้นขนมจีนได้
(3.1  ป.6 /2)
- สามารถเก็บข้อมูลในรูปแบบต่างๆได้
(3.1  ป.6 /3)
มาตรฐาน   ง 4.1
- สำรวจในชุมชนตนเองเพื่อวางแผนเลือกอาชีพได้ (4.1  ป.6 /1)
- มีเจตคติที่ดีในการเป็นผู้ผลิตและผู้บริโภค
(4.1  ม.1 /1)
มาตรฐาน  พ 2.1
เข้าใจและสามารถอธิบายความสำคัญของการสร้างและรักษาสัมพันธภาพในการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
( 2.1.6/1 )
มาตรฐาน  พ 3.1
ใช้ความสามารถของตนเองเพื่อเพิ่มศักยภาพของทีม คำนึงถึงผลที่เกิดต่อผู้อื่นและชุมชน                  
( 3.1.4/2 )
มาตรฐาน  พ 4.1
- วิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดจากอาหารประเภทเส้น และสามารถป้องกันตนเองได้
( 4.1.6/2 )
- เลือกกินอาหารที่เหมาะสมกับวัยได้
( 4.1.1/1 )
- เข้าใจและสามารถ
วิเคราะห์ปัญหาที่เกิดจากอาหารต่อสุขภาพได้
( 4.1.1/2 )

มาตรฐาน ศ1.1
- เข้าใจและสามารถออกแบบ วางแผนที่บีบเส้นขนมจีนผ่านวาดภาพโดยใช้เทคนิคของแสง เงา  น้ำหนัก และวรรณะสี (1.1 .6/1)
- สร้างสรรค์ที่บีบเส้นขนมจีนด้วยวัสดุในท้องถิ่นได้ (1.1  ป.6/6)

มาตรฐาน ส 4.1
นำเสนอข้อมูลจากหลักฐานที่หลากหลายในการทำความเข้าใจเรื่องเส้นจีนได้ 
(4.1  .6/2)

มาตรฐาน ส 2.1
- เข้าใจและแสดงออกถึงมารยาทไทยได้เหมาะสมกับกาลเทศะ          
(2.1 .6/3)
- เห็นคุณค่าของเส้นขนมจีนที่ผลิตเองที่มีผลต่อการดำรงชีวิต
(2.1 .6/4)
- ติดตามข้อมูลข่าวสารเหตุการณ์ต่างๆในชีวิตประจำวันเลือกรับและใช้ข้อมูลข่าวสารได้อย่างเหมาะสม          
(2.1  ป.6/5)
- เข้าใจและแสดงออกถึงการเคารพในสิทธิเสรีภาพของตนเองและผู้อื่น
(2.1  ม.1/4)



สาระการเรียนรู้
มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด
วิทยาศาสตร์
สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
การงานอาชีพและเทคโนโลยี
สุขศึกษาและ
พลานามัย
ศิลปะ
ประวัติศาสตร์
หน้าที่พลเมือง
- การเลือกซื้อและบริโภคอาหาร
- กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค


มาตรฐาน ว 1.1
 เข้าใจและสามารถวิเคราะห์เลือกซื้ออาหารในสัดส่วนที่เหมาะสมกับเพศและวัย (1.1 .6/3 )
มาตรฐาน ว 2.2
สืบค้นข้อมูลและอภิปรายแหล่งอาหารในแต่ละท้องถิ่นที่เป็น
ประโยชน์ต่อเลือกซื้อ
(2.2 .6/1 )
มาตรฐาน ว 3.1
เข้าใจและสามารถทดลองคุณสมบัติของสารในอาหารได้ (3.1 .6/1 )
มาตรฐาน ว 8.1
- ตั้งคำถามเกี่ยวกับกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคได้ (8.1 .6/1 )
- วางแผนการซื้อและบริโภคอาหารได้
(8.1 .6/2)
- เข้าใจและสามารถแสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ อธิบายและลงความเห็น สรุปเรื่องกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคได้ 
(8.1 .6/6 )
 - นำเสนอ จัดแสดงผลงานโดยอธิบายด้วยวาจา หรือเขียนอธิบายแสดงกระบวนการและผลของงานให้ผู้อื่นเข้าใจ
(8.1  ป.6/8 )
มาตรฐาน ส1.1
- เห็นคุณค่าและประพฤติตนตามแบบอย่างในการดำเนินชีวิต
(1.1 .6/3)
- ชื่นชมการทำความดี ของบุคคลอื่น
(1.1 .6/4)
- เข้าใจและปฏิบัติตนตามหลักธรรมของศาสนาที่ตนเองนับถือ
(1.1 .6/7)
มาตรฐาน ส1.2
 เข้าใจและแสดงออกถึงมารยาทของความเป็นศาสนิกชนที่ดีได้
(1.2 .6/2)
มาตรฐาน ส3.1
เข้าใจและสามารถ
อธิบายบทบาทของผู้ผลิตที่มีความรับผิดชอบ
(3.1  ป.6/1)
เข้าใจและสามารถ
อธิบายบทบาทของผู้บริโภคที่รู้เท่าทัน
(3.1  ป.6/2)

 มาตรฐาน   ง 1.1
- เข้าใจและสามารถอภิปรายแนวทางในการทำงานและปรับปรุงการทำงานในแต่ละขั้นตอนได้
(1.1 .6 /1 )
- เข้าใจและสามารถใช้กระบวนการกลุ่มในการทำงานด้วยความเสียสละ  
(1.1 .1 /2 )
- ตัดสินใจแก้ปัญหาการทำงานอย่างมีเหตุผล (1.1 .1 /3 )
- ปฏิบัติตนอย่างมีมารยาทในการทำงานร่วมกับผู้อื่น
(1.1  ป.6 /3)
มาตรฐาน   ง 3.1
- เข้าใจและสามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการหาข้อมูลเกี่ยวกับกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคได้
(3.1  ป.6 /2)
- สามารถเก็บข้อมูลในรูปแบบต่างๆได้
(3.1  ป.6 /3)
มาตรฐาน   ง 4.1
สำรวจในชุมชนตนเองเพื่อวางแผนการเลือกซื้อได้ (4.1  ป.6 /1)

 มาตรฐาน  พ 2.1
เข้าใจและสามารถอธิบายความสำคัญของการสร้างและรักษาสัมพันธภาพในการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
( 2.1.6/1 )
มาตรฐาน  พ 3.1
ใช้ความสามารถของตนเองเพื่อเพิ่มศักยภาพของทีม คำนึงถึงผลที่เกิดต่อผู้อื่นและชุมชน                  
( 3.1.4/2 )
มาตรฐาน  พ 4.1
- เลือกกินอาหารที่เหมาะสมกับวัยได้
( 4.1.1/1 )
- เข้าใจและสามารถ
วิเคราะห์ปัญหาที่เกิดจากอาหารต่อสุขภาพได้
( 4.1.1/2 )

มาตรฐาน ศ1.1
- เข้าใจและสามารถถ่ายทอดเรื่องราวของเครื่องหมาย อย.มอก.ผ่านวาดภาพโดยใช้เทคนิคของแสง เงา  น้ำหนัก และวรรณะสี
(1.1 .6/1)
- สร้างงานทัศนศิลป์เป็นแผนภาพแผนผังและภาพประกอบเกี่ยวกับเรื่องการเลือกซื้อ เลือกบริโภค เพื่อถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจ
(1.1  ป.6/7)
มาตรฐาน ศ3.1
ออกแบบ สร้างสรรค์เรื่องราวกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคถ่ายทอดผ่านละครได้ (3.1  ป.6/2)

มาตรฐาน ส 4.1
นำเสนอข้อมูลจากหลักฐานที่หลากหลายในการทำความเข้าใจเรื่อง
- การเลือกซื้อและบริโภคอาหาร
- กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคได้ 
(4.1  .6/2)

มาตรฐาน ส2.1
- เข้าใจและแสดงออกถึงมารยาทในการเลือกซื้ออาหารได้เหมาะสม
(2.1 .6/3)
- เห็นคุณค่าของอาหารที่มีผลต่อการดำรงชีวิตในสังคมไทย    
 (2.1 .6/4)
- ติดตามข้อมูลข่าวสารเหตุการณ์ต่างๆในชีวิตประจำวันเลือกรับและใช้ข้อมูลข่าวสารได้อย่างเหมาะสม         
(2.1  ป.6/5)
- เข้าใจและแสดงออกถึงการเคารพในสิทธิเสรีภาพของตนเองและผู้อื่น
(2.1  ม.1/4)



สาระการเรียนรู้
มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด
วิทยาศาสตร์
สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
การงานอาชีพและเทคโนโลยี
สุขศึกษาและ
พลานามัย
ศิลปะ
ประวัติศาสตร์
หน้าที่พลเมือง
- สรุปและนำเสนอหน่วย
- การตกผลึกความรู้เกี่ยวกับสิ่งที่เรียนรู้มาทั้งหมด

มาตรฐาน ว 8.1
- ตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่อง
ที่อยากเรียนรู้ได้
(8.1 .6/1 )
- วางแผนการตรวจสอบสิ่งที่ดีแล้ว สิ่งที่ควรพัฒนาต่อได้ 
(8.1 .6/2)
- เลือกอุปกรณ์ในนำเสนอผลงานที่เหมาะสม และน่าเชื่อได้ 
(8.1 .6/3 )
- เข้าใจและสามารถแสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ อธิบายและลงความเห็น สรุปเรื่องที่ได้เรียนรู้ได้
(8.1 .6/6 )
 - นำเสนอ จัดแสดงผลงานโดยอธิบายด้วยวาจา หรือเขียนอธิบายแสดงกระบวนการและผลของงานให้ผู้อื่นเข้าใจ
(8.1  ป.6/8 )
มาตรฐาน ส1.1
- เห็นคุณค่าและประพฤติตนตามแบบอย่างในการดำเนินชีวิต
(1.1 .6/3)
- ชื่นชมการทำความดี ของบุคคลอื่น
(1.1 .6/4)
- เข้าใจและปฏิบัติตนตามหลักธรรมของศาสนาที่ตนเองนับถือ
(1.1 .6/7)
มาตรฐาน ส1.2
 เข้าใจและแสดงออกถึงมารยาทของความเป็นศาสนิกชนที่ดีได้
(1.2 .6/2)
มาตรฐาน ส3.1
 เข้าใจและรู้จักบทบาทของตนเอง
(3.1 .6/1)
มาตรฐาน ส5.2
อธิบายการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติจากอดีตถึงปัจจุบันและผลที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงนั้นได้
(5.2 .6/2)
 มาตรฐาน   ง 1.1
- เข้าใจและสามารถอภิปรายแนวทางในการทำงานและปรับปรุงการทำงานในแต่ละขั้นตอนได้
(1.1 .6 /1 )
- เข้าใจและสามารถใช้กระบวนการกลุ่มในการทำงานด้วยความเสียสละ  
(1.1 .1 /2 )
- ตัดสินใจแก้ปัญหาการทำงานอย่างมีเหตุผล (1.1 .1 /3 )
- ปฏิบัติตนอย่างมีมารยาทในการทำงานร่วมกับผู้อื่น
(1.1  ป.6 /3)
มาตรฐาน   ง 3.1
- เข้าใจและสามารถใช้คอมพิวเตอร์ในนำเสนองานได้
(3.1  ป.6 /2)
- สามารถเก็บข้อมูลในรูปแบบต่างๆได้
(3.1  ป.6 /3)
มาตรฐาน  พ 2.1
เข้าใจและสามารถอธิบายความสำคัญของการสร้างและรักษาสัมพันธภาพในการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
( 2.1.6/1 )
มาตรฐาน  พ 3.1
ใช้ความสามารถของตนเองเพื่อเพิ่มศักยภาพของทีม คำนึงถึงผลที่เกิดต่อผู้อื่นและชุมชน                  
( 3.1.4/2 )
มาตรฐาน  พ 4.1
- เลือกกินอาหารที่เหมาะสมกับวัยได้
( 4.1.1/1 )
- เข้าใจและสามารถ
วิเคราะห์ปัญหาที่เกิดจากอาหารต่อสุขภาพได้
( 4.1.1/2 )

มาตรฐาน ศ1.1
- เข้าใจและสามารถถ่ายทอดเรื่องราวที่เรียนมาทั้งหมดผ่านวาดภาพโดยใช้เทคนิคของแสง เงา  น้ำหนัก และวรรณะสี (1.1 .6/1)
- สร้างงานทัศนศิลป์เป็นแผนภาพแผนผังและภาพประกอบสรุปความรู้ความเข้าใจ ได้
(1.1  ป.6/7)
มาตรฐาน ศ3.1
ออกแบบ สร้างสรรค์นำเสนออาหารประเภทเส้นถ่ายทอดผ่านละคร เรื่องสั้นได้
(3.1  ป.6/2)

มาตรฐาน ส 4.1
อธิบายความสำคัญของเรื่องที่ศึกษาผ่าน Time line
(4.1  .6/1)
นำเสนอข้อมูลจากหลักฐานที่หลากหลายในการทำความเข้าใจเรื่องที่เรียนได้ 
(4.1  .6/2)

มาตรฐาน ส2.1
- เข้าใจและแสดงออกถึงมารยาทไทยได้เหมาะสมกับกาลเทศะ          
(2.1 .6/3)
- เห็นคุณค่าของเรื่องที่เรียนที่มีผลต่อการดำรงชีวิตในสังคมไทย    
 (2.1 .6/4)
- ติดตามข้อมูลข่าวสารเหตุการณ์ต่างๆในชีวิตประจำวันเลือกรับและใช้ข้อมูลข่าวสารได้อย่างเหมาะสม          
(2.1  ป.6/5)
- เข้าใจและแสดงออกถึงการเคารพในสิทธิเสรีภาพของตนเองและผู้อื่น
(2.1  ม.1/4)




สิ่งที่รู้แล้วและสิ่งที่อยากเรียนรู้เกี่ยวกับหน่วย “เด็กเส้น”
สิ่งที่รู้แล้ว
สิ่งที่อยากเรียนรู้
-          เส้นมาม่าจะทำให้ท้องอืดง่าย
-          เส้นทำมาจากแป้ง
-          เส้นมีประโยชน์เพราะให้สารอาหารคาร์โบไฮเดรต
-          อาหารประเภทเส้นมีหลายชนิด
-          ก๋วยเตี๋ยว เป็นอาหารประเภทเส้น
-          เส้นมีหลายสี
-          เส้นทำมาจากข้าวสาลี
-          คนจีนนิยมรับประทานอาหารเส้น
-          ประเทศไทยมีการผลิตเส้นเอง
-          อาหารประเภทเส้นในโลกนี้มีอะไรบ้าง
-          เส้นแต่ละชนิดมีกระบวนการผลิตอย่างไร
-          สารอาหารส่งผลต่อร่างกายอย่างไร
-          อย. มอก. คืออะไร
-          ข้อดี/ข้อเสียของอาหารเส้นมีอะไรบ้าง
-          ความเป็นมาของอาหารประเภทเส้น
-          เส้นมีกี่ชนิดอะไรบ้าง
-          เส้นขนมจีนทำมาจากอะไร
-          ใครเป็นคนคิดค้นเส้นเป็นคนแรก
-          เส้นในอนาคตจะเป็นอย่างไร
-          อาหารจากเส้นมีประโยชน์จริงหรือ
-          วัฒนธรรมการกินอาหารประเภทเส้นต่างประเทศเป็นอย่างไร
-          น้ำยาขนมจีนทำอย่างไร
-          รับประทานเส้นเยอะๆจะเกิดโรคจริงหรือไม่