เป้าหมายหลัก

ปีการศึกษา1/2558 หน่วยการเรียนรู้: เด็กเส้น
เป้าหมาย(Understanding Goal) :
เข้าใจและเห็นความสำคัญของการเลือกบริโภคอาหารประเภทเส้น รวมทั้งสามารถผลิตอาหารประเภทเส้นที่มีคุณค่าทางอาหารและปลอดภัยจากวัตถุดิบในท้องถิ่นของตนเองได้

week5

Understanding  Goal : เข้าใจและสามารถวางแผนออกแบบการทำเส้นขนมจีนโดยใช้วัสถุดิบในชุมชน รวมทั้งสามารถอธิบายเกี่ยวกับการถนอมอาหารได้
Week
Input
Process
Output
Outcome
5
(8-12 มิ.ย 58)
โจทย์ : เส้นขนมจีน แบบใหม่
Key Questions :
- นักเรียนจะผลิตเส้นขนมจีนในรูปแบบใหม่ได้อย่างไร
- วัสดุดิบในชุมชนที่สามารถนำมาทำเส้นขนมจีนได้มีอะไรบ้าง
- นักเรียนจะทำอย่างไรให้
เส้นขนมจีนสามารถเก็บไว้รับประทานได้นานที่สุด
Round Robin : พูดคุยสนทนาเกี่ยวกับเส้นขนมจีนในรูปแบบใหม่
Show and Share : นำเสนอการ์ตูนช่อง นิทาน เรื่องการถนอมอาหาร
Wall Thinking : ขั้นตอนการทำเส้นขนมจีน
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- คุณครู
- นักเรียน
- ผู้รู้
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- อินเทอร์เน็ต
- ห้องสมุด
- บรรยากาศในห้องเรียน
- วัตถุดิบทำเส้นขนมจีนจากชุมชน
วันจันทร์ 3 ชั่วโมง
ชง
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด 
- นักเรียนจะผลิตเส้นขนมจีนในรูปแบบใหม่ได้อย่างไร
- วัสดุดิบในชุมชนที่สามารถนำมาทำเส้นขนมจีนได้มีอะไรบ้าง
- นักเรียนจะทำอย่างไรให้เส้นขนมจีนสามารถเก็บไว้รับประทานได้นานที่สุด
เชื่อม
- ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการทำเส้นขนมจีนรูปแบบใหม่, วัสดุดิบในชุมชนที่สามารถนำมาทำเส้นขนมจีนได้และการเก็บเส้นขนมจีนให้ได้นานที่สุด
- นักเรียนแต่ละคนศึกษา ค้นคว้าเกี่ยวกับการถนอมอาหาร
ใช้
- นักเรียนแต่ละกลุ่มออกแบบ วางแผนทำเส้นขนมจีนในรูปแบบใหม่
- นักเรียนแต่ละกลุ่มเตรียมอุปกรณ์ในการทำเส้นขนมจีน (การบ้าน)
- สรุปความเข้าใจเรื่องการถนอมอาหาร ผ่านการ์ตูนช่อง หรือนิทาน
วันอังคาร 3 ชั่วโมง
ชง
 - ครูสุ่มนักเรียนนำเสนอ การ์ตูนช่อง หรือนิทานเรื่องการถนอมอาหาร
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด  นักเรียนจะทำเส้นขนมจีนในรูปแบบใหม่
ได้อย่างไร ผ่านเครื่องมือคิด Round Robin
เชื่อม
- ครูและนักเรียนสนทนาเกี่ยวกับคำถามใน ขั้นชง
- ครูและนักเรียนร่วมกันสร้างข้อตกลงในการทำงานและการใช้อุปกรณ์ต่างๆ
ใช้
 ทำเส้นขนมจีนในรูปแบบใหม่
วันพฤหัสบดี 1 ชั่วโมง
ใช้
 ทำเส้นขนมจีนในรูปแบบใหม่ ต่อจากวันอังคาร
วันศุกร์ 2 ชั่วโมง
ชง
  ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด 
- ปัญหาและอุปสรรคในการทำงานมีอะไรบ้าง นักเรียนแก้ปัญหานั้นอย่างไร
- นักเรียนจะทำอย่างไรให้เส้นขนมจีนสามารถเก็บไว้รับประทานได้นานที่สุด
เชื่อม
- ครูและนักเรียนสนทนาเกี่ยวกับคำถามใน ขั้นชง
- นักเรียนศึกษา ค้นคว้าเพิ่มเติมเรื่องการถนอมเส้นขนมจีนให้สามารถรับประทานได้นานที่สุด
ใช้
 ออกแบบ  การถนอมเส้นขนมจีน เช่น การอบ ตากแดด
ชง
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด 
1. นักเรียนได้เรียนรู้อะไรในสัปดาห์นี้และเรียนรู้อย่างไร
2. ความรู้ความเข้าใจในสัปดาห์นี้มีอะไรบ้าง
3. นักเรียนเจอปัญหาอะไรและมีวิธีการแก้ปัญหาอย่างไร
4. นักเรียนรู้สึกอย่างไรกับกิจกรรมที่ทำในสัปดาห์นี้
5. นักเรียนจะนำความเข้าใจที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวันอย่างไร
6. นักเรียนจะทำอะไรในสัปดาห์ต่อไป
เชื่อม
ครูและนักเรียนพูดคุยแลกเปลี่ยน ผ่านคำถามใน ขั้นชง
ใช้
  นักเรียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์ที่ 5
ชิ้นงาน
- เส้นขนมจีน รูปแบบใหม่ แต่ละกลุ่ม
- สรุปความเข้าใจเรื่องการถนอมอาหารรายบุคคลตามเทคนิคที่ตนเองถนัด เช่นการ์ตูนช่อง นิทาน
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
- ลงมือทำเส้นขนมจีน
- ศึกษา ค้นคว้าเกี่ยวกับการถนอมอาหาร
- วางแผนการถนอมอาหาร
ความรู้
เข้าใจและสามารถวางแผนออกแบบการทำเส้นขนมจีนโดยใช้วัสถุดิบในชุมชน รวมทั้งสามารถอธิบายเกี่ยวกับการถนอมอาหารได้
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
- นำวัตถุดิบในท้องถิ่นมาทำเส้นขนมจีนได้
- สามารถถนอมเส้นขนมจีนได้นานที่สุด
- เก็บกวาดอุปกรณ์หลังการทำงานทุกครั้ง
- ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด เช่น ข้าว ผัก ผลไม้
ทักษะการจัดการข้อมูล
คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการการถนอมอาหารได้
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
คิดวิธีการถนอมเส้นขนมจีนได้
ทักษะการสื่อสาร
พูดนำเสนอ การทำเส้นขนมจีนในรูปแบบใหม่ ให้ครูและเพื่อนๆฟังได้
ทักษะ ICT
สามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการหาข้อมูลเกี่ยวกับการถนอมอาหารได้
 คุณลักษณะ
- รักการเรียนรู้ กระตือรือร้นในการทำงาน
- มีความพยายาม อดทนในการคิดวิธีถนอมเส้นขนมจีน
- รับฟังและกล้าแสดงความคิดเห็น
- มีความรับผิดชอบในการเตรียมอุปกรณ์


ตัวอย่างกิจกรรมการเรียนรู้










1 ความคิดเห็น:

  1. ในสัปดาห์นี้เด็กๆจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับการถนอมอาหารและคิดรูปแบบการทำเส้นขนมจีนรูปแบบใหม่ อีกทั้งยังได้เรียนรู้ร่วมกับผู้ปกครอง ในกิจกรรมผู้ปกครองอาสา โดยผู้ปกครองมีกิจกรรมอาหารประเภทเส้น เช่นทำของหวานสิงคโปร์ ก๋วยเตี๋ยว ลอดช่องและยำวุ้นเส้น วันละ 1 เมนู
    วันจันทร์ นักเรียนกระตือรือร้นมากแต่ละกลุ่มออกแบบวางแผนการทำงานร่วมกับผู้ปกครอง เริ่มจากการแบ่งหน้าที่กันทำงานเช่น การหาข้อมูล การเตรียมอุปกรณ์ สรุปงานร่วมกัน เป็นต้น
    วันอังคาร ภาคเช้า 1 ชั่วโมงนักเรียนแต่ละกลุ่มได้มีโอกาสนำเสนอสิ่งที่ตนเองรับผิดชอบและให้เพื่อนๆเพิ่มในส่วนที่คิดต่าง ส่วนภาคบ่ายกลุ่มสิงคโปร์นำอุปกรณ์ที่เตรียมมา ไปทำกิจกรรมร่วมกับผู้ปกครองที่ครัวเล็ก ส่วนเพื่อนๆที่เหลือหาข้อมูลการถนอมอาหารต่างๆให้อยู่ได้นานที่สุด นำมาพูดคุยแลกเปลี่ยนก่อนสรุปเป็นนิทาน หรือการ์ตูนช่อง
    บ่ายสามโมง กลุ่มสิงคโปร์กลับมาที่ห้องเรียนพร้อมผุ้ปกครองอาสาคือคุณแม่พี่ใบเตย คุณแม่พี่มิว คุณแม่พี่เมย์และคุณยายพี่แฟ้ม ถ่ายทอดสิ่งที่ได้เรียนรู้ให้เพื่อนๆฟัง เช่นการทำงาน หน้าที่ที่ตนเองรับผิดชอบ ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้น เช่น พี่แม็ค เล่าให้เพื่อนฟังว่า ขณะที่ผสมแป้งสิงคโปร์ถ้าน้ำที่ใช้ในการนวดแป้งไปร้อน จะทำให้แป้งที่นวดไม่จับตัวกันครับ พี่แป้ง เล่าให้เพื่อนฟังว่า สีที่ใช้ได้จากดอกอัญชัน ใบเตย และน้ำหวานเฮบรูบอย ค่ะ พี่ตะวัน เล่าให้เพื่อนฟังว่า เขาทำหน้าที่ไปเก็บดอกอัญชันและต้มน้ำครับ ทุกคนต่างมีหน้าที่ในการทำงาน หลังจากที่พูดคุยเสร็จ นักเรียนขอบคุณผู้ปกครองที่มาร่วมเรียนรู้ เพื่อนๆที่อยู่กลุ่มสิงคโปร์บริการเพื่อนและเพื่อนๆขอบคุณเพื่อนที่บริการอย่างตั้งใจ (การบ้านเตรียมสิ่งที่มีในบ้านหรือชุมชนมาถนอมอาหาร)
    วันพุธ นักเรียนเตรียมผักและผลไม้ที่จะถนอมอาหารมาโรงเรียน โจทย์มีแต่เกลือจะถนอมอาหารอย่างไร แต่ละกลุ่มคิดวิธีการจากโจทย์ที่ให้ ส่วนนักเรียนที่อยู่กลุ่มก๋วยเตี๋ยว ไปทำกิจกรรมร่วมกับผู้ปกครองอาสา คือคุณแม่พี่ตะวัน คุณแม่พี่เช็ค คุณแม่พี่โอ๊ค และคุณแม่พี่ทัช บ่ายสามโมงครึ่ง กลุ่มก๋วยเตี๋ยวร์กลับมาที่ห้องเรียนพร้อมผุ้ปกครองอาสาคือคุณแม่พี่ตะวัน คุณแม่พี่เช็ค คุณแม่พี่โอ๊ค และคุณแม่พี่ทัช ถ่ายทอดสิ่งที่ได้เรียนรู้ให้เพื่อนๆฟัง เช่นการทำงาน หน้าที่ที่ตนเองรับผิดชอบ ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้น เช่น พี่โอ๊ค ทำเส้นก๋วยเตี๋ยวตามที่หาข้อมูลมาไม่ได้ เลยแก้ปัญหาโดยการทอดด้วยน้ำ แต่การทอดด้วยน้ำต้องใช้เวลานานและได้น้อย ส่วนที่นำไปนิ่งแป้งหนาเกินไปทำให้แป้งไม่สุกครับ พี่เช็ค เล่าให้เพื่อนฟังว่า ตนเองมีหน้าที่ล้างผัก หันผักและเก็บอุปกรณ์ช่วยผู้ปกครองครับ ทุกคนต่างมีหน้าที่ในการทำงาน หลังจากที่พูดคุยเสร็จ นักเรียนขอบคุณผู้ปกครองที่มาร่วมเรียนรู้ เพื่อนๆที่อยู่กลุ่มก๋วยเตี๋ยวบริการเพื่อนและเพื่อนๆขอบคุณเพื่อนที่บริการอย่างตั้งใจ
    วันพฤหัสบดี นักเรียนทบทวนกิจกรรมตั้งแต่วันจันทร์ถึงเวลานี้ได้เรียนรู้อะไรบ้าง เพื่อให้เพื่อนที่ไม่ได้อยู่ในวันนั้นได้เข้าใจและรู้ร่วมกัน เมื่อพูดคุยสนทนาเสร็จนักเรียนได้มีโอกาสเขียนจากใจเพื่อขอบคุณผู้ปกครองที่มาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ส่วนนักเรียนที่อยู่ลอดช่องได้ไปทำกิจกรรมกับผู้ปกครอง คือคุณแม่พี่ภูมิ คุณแม่คุณพ่อแจ๊บ และคุณแม่พี่แพรว บ่ายสองโมงสี่สิบห้ากลุ่มลอดช่องกลับมาที่นักเรียนพร้อมกับผู้ปกครองอาสา นักเรียนที่อยู่ในห้องตื่นเต้นมากเมื่อเห็นเส้นลอดช่องที่เพื่อนยกเข้ามาในห้อง ( เสียงที่ดังขึ้นคือ เส้นสวยมาก ทำอย่างไงนิ สวยกว่าที่เราทำเส้นขนมจีนอีก) คุณแม่พี่ภูมิเล่าในเด็กๆฟังเกี่ยวกับขั้นตอนการทำและการได้มาของเส้นลอดช่องที่สวยงาม นักเรียนเห็นความแตกต่างของการทำเส้นขนมจีนกับเส้นลอดช่อง คือเส้นลอดช่องจะกวนแป้งให้หนืดและบีบแป้งลงในน้ำเย็น ส่วนเส้นขนมจีนจะตำแป้งและนวดแป้ง บีบเส้นลงในร้อน เป็นต้น เมื่อแลกเปลี่ยนเสร็จ นักเรียนได้ขอบคุณผู้ปกครองและเพื่อนกลุ่มลอดช่องที่บริการ
    วันศุกร์กลุ่มสุดท้าย คือกลุ่มยำวุ้นเส้น ได้ไปทำกิจกรรมกับคุณแม่พี่เพลง คุณแม่พี่พุทธ คุณแม่พี่สตางค์ คุณแม่พี่แป้ง และคุณแม่พี่แบงค์ ส่วนนักเรียนที่อยู่ที่ห้องเรียนทบทวนสิ่งที่ได้เรียนตลอดสัปดาห์ ทั้งความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้น อุปสรรคหรือปัญหาที่พบเจอ การแก้ปัญหาต่างๆ สุดท้ายจะนำไปปรับใช้อย่างไร แลกเปลี่ยนเสร็จ โจทย์คือนิทานความเข้าใจ Week 5
    บ่ายสามโมงกลุ่มยำวุ้นเส้น เล่าถ่ายทอดสิ่งที่ได้ทำให้เพื่อนๆฟัง และบริการเพื่อนๆ ในแต่ละวันที่เด็กๆได้ทำอาหารประเภทเส้น แต่กลุ่มได้แบ่งปันให้น้องๆ คุณครูและแม่บ้านได้ชิม และสะท้อนเพื่อการพัฒนาในครั้งต่อไป

    ตอบลบ